ผบช.ภ.7 เป็นประธานประชุม ขับเคลื่อน ศปอส.ภ.7 ครั้งที่ 1 สั่งกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหา
อาชญากรรม–ยาเสพติดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ทุกมิติ
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 เป็นประธาน“ประชุม ขับเคลื่อน ศปอส.ภ.7 ครั้งที่1/2565”โดยมี พล.ต.ต.รักษ์จิต หม้อมงคล รอง ผบช.ภ.7 รอง ผบ.ศปอส.ภ.7 พล.ต.ต.ปรัชญาประสานสุข รอง ผบช.ภ.7 รอง ผบ.ศปอส.ภ.7 พล.ต.ต.ตรีวิทย์ ศรีประภา ผบก.กค.ภ.7 เลขานุการ ศปอส.ภ.7 พล.ต.ต.ประสพชัย มัตสยะวนิชกูล ผบก.สส.ภ.7 ผู้ช่วยเลขานุการศปอส.ภ.7 ผบก.ผอ.ศปอส. แต่ละ ภ.จว. พร้อมผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมเสสะเวช อาคารตำรวจภูธรภาค 7 ถ.ข้างวัง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม
โดยได้สั่งการ
1.ให้ทุกหน่วยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบว่าขณะนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการเปิดระบบรับแจ้งความออนไลน์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป ดังนี้
1.1รับแจ้งความออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com
1.2ปรึกษาหรือขอคำแนะนำ ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 1441 หรือ โทร. 081 866 3000
2.ให้ทุกหน่วยศึกษาข้อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการรับแจ้งความออนไลน์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เช่น
2.1คำสั่ง ตร. ที่ 419/2556
2.2คำสั่ง ตร. ที่ 177/2564
2.3หนังสือ ตร. ด่วนที่สุด ที่ 0066/3207 ลง 25 ต.ค.2564
2.4วิทยุ ตร. ด่วนที่สุด ที่ 0066/148 ลง 13 ม.ค.2565
3.ให้ หน.ศปอส.ภ.จว. ควบคุมกำกับดูแล ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับแจ้งความออนไลน์ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ
3.1ผู้บริหารการรับแจ้ง (Administrator) ระดับสถานีตำรวจ / ระดับกองบังคับการ และ ระดับกองบัญชาการ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลและตรวจสอบข้อมูลในระบบฯ เพื่อเสนอผู้บริหารคดีพิจารณาสั่งการ รวมทั้งประสานนัดหมายผู้แจ้งให้มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน และรายงานผลการดำเนินการผ่านระบบฯ
3.2ผู้บริหารคดี (Case Manager)
– ผู้บริหารคดีระดับสถานีตำรวจ คือ หัวหน้าสถานีตำรวจ ซึ่งมีหน้าที่วิเคราะห์คดีจากระบบรับแจ้งความออนไลน์ และพิจารณาสั่งการมอบหมายพนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน รับผิดชอบทำการสืบสวนสอบสวน รวมทั้งแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนระดับสถานีตำรวจ
– ผู้บริหารคดีระดับกองบังคับการ คือ รอง ผบก.ภ.จว. ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งมีหน้าที่วิเคราะห์คดีจากระบบรับแจ้งความออนไลน์ และพิจารณาสั่ง หรือมอบหมายสถานีตำรวจในสังกัด รวมทั้งแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนระดับกองบังคับการ
– ผู้บริหารคดีระดับกองบัญชาการ คือ รอง ผบช. ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาสั่งการเกี่ยวกับคดี รวมทั้งแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนระดับกองบัญชาการ
4.ให้ทุกหน่วยประชาสัมพันธ์ 14 ข้อกลโกง ที่มิจฉาชีพมักใช้ในการหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์ให้ประชาชนรับทราบและระมัดระวัง หากตกเป็นเหยื่อให้รีบแจ้งความออนไลน์ทันที ดังนี้
4.1 หลอกขายของออนไลน์
4.2คอลเซ็นเตอร์ (Call Center)
4.3เงินกู้ออนไลน์ดอกเบี้ยโหด
4.4เงินกู้ออนไลน์ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์)
4.5หลอกให้ลงทุนต่างๆ ผลตอบแทนสูงที่ไม่มีจริง
4.6หลอกให้เล่นพนันออนไลน์
4.7ปลอมโปรไฟล์หลอกให้หลงรัก แล้วหลอกให้โอนเงิน หรือให้ลงทุน (Romance Scam / Hybrid Sacm)
4.8ส่งลิงค์ปลอมหลอกแฮ็กเอาข้อมูลส่วนตัว ขโมยข้อมูลโทรศัพท์ บัญชีธนาคาร
4.9อ้างเป็นบุคคลอื่นเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสำคัญ เช่น รหัส OTP ข้อมูลหลังบัตรประชาชน
4.10 ปลอมบัญชีไลน์ (Line) เฟสบุ๊ค (Facebook) หลอกยืมเงิน
4.11 ข่าวปลอม (Fake news) ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (ชัวร์ก่อนแชร์)
4.12 หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป้เปลือย เพื่อใช้แบล็คเมล์
4.13 โฆษณาชวนไปทำงานต่างประเทศ แล้วบังคับให้ทำงานผิดกฎหมาย
4.14 ยินยอมให้ผู้อื่นบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน , ฟอกเงิน
5.ให้ทุกหน่วย แก้ไขปรับปรุงคำสั่ง ศปอส.ภ.จว. และ ศปอส.สภ. ให้เป็นไปตามโครงสร้างใหม่ที่ ตร. กำหนด แล้วส่งคำสั่งให้ ศปอส.ภ.7 ทราบภายใน 10 มี.ค. 65
6.ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ตรวจสอบควบคุมกำกับดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ห้ามมิให้เรียกรับผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิด หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หากพบว่ามีการกระทำความผิดให้ดำเนินการทั้งคดีอาญา ทางวินัยและทางปกครองอย่างถึงที่สุด