เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ CAAT ได้ให้ข้อมูลผ่านหน้าแฟนเพจว่า เกี่ยวกับราคาค่าโดยสารเคร่องบิน

ที่มีความผันผวนตลอดเวลา โดยระบุว่าตั๋วเครื่องบินถูกกำหนดราคาด้วยหลัก“Dynamic Pricing” คือการตั้งราคาแบบยืดหยุ่นตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าโดยราคาสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง โดยเฉพาะปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารในแต่ละช่วงเวลาและระดับการแข่งขันของสายการบินในเส้นทางต่าง ซึ่งจะนำปัจจัยเหล่านี้มาพิจารณาร่วมกับต้นทุนการให้บริการก่อนกำหนดเป็นราคาตั๋วแต่ละที่นั่ง โดยใน 1 เที่ยวบินจะมีราคาตั๋วที่แตกต่างกัน ไล่ระดับราคาเป็นขั้นบันได หรือที่เรียกว่า “Fare Class” โดยราคาตั๋วจะมีกี่ระดับขึ้นอยู่กับการบริหารรายได้ (Revenue Management) ของแต่ละสายการบิน ซึ่งสายการบินมักส่งเสริมการขายด้วยการปล่อยตั๋วโปรโมชันที่มีราคาถูกออกมาก่อน แต่ตั๋วราคานี้จะมีจำนวนจำกัดเมื่อตั๋วราคาถูกขายหมดไป ราคาตั๋วก็จะขยับสูงขึ้นตามระดับความต้องการซื้อและต้นทุนค่าบริการที่สายการบินตั้งไว้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้การจองตั๋วเครื่องบินในระยะเวลากระชั้นชิดกับวันที่ต้องการเดินทาง มักจะเหลือตั๋วราคาแพง ในขณะเดียวกัน กลไกFare Class นี้เองก็ทำให้สายการบินสามารถตั้งราคาตั๋วโดยสารได้หลายระดับ ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้มากขึ้น


จากพฤติกรรมการซื้อตั๋วเครื่องบิน
สามารถแบ่งกลุ่มผู้โดยสารออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกเรียกว่า “Leisure Travelers” คือกลุ่มผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยว ผู้โดยสารกลุ่มนี้จะมีความอ่อนไหวต่อราคาตั๋วและมักจะวางแผนการเดินทางล่วงหน้าเพื่อซื้อตั๋วราคาถูก กลุ่มที่สองคือกลุ่ม “Business Travelers” คือกลุ่มผู้โดยสารที่เดินทางเพื่อทำธุรกิจหรือทำงาน ผู้โดยสารกลุ่มนี้จะซื้อตั๋วก่อนเดินทางไม่นาน มักต้องการตั๋วที่มีความยืดหยุ่น เช่น สามารถเปลี่ยนแปลงวันเดินทางได้ สามารถยกเลิกการเดินทางได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เป็นต้น ซึ่งตั๋วที่มีราคาสูงจะตอบโจทย์ผู้โดยสารกลุ่มนี้

ทั้งนี้ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง มีปริมาณความต้องการเดินทางภายในประเทศสูงขึ้นมากทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวชาวไทย ในขณะที่สายการบินยังฟื้นตัวได้ต่ำกว่าระดับการให้บริการในปี 62 ทำให้ไม่สามารถเพิ่มเที่ยวบินเพื่อรองรับปริมาณความต้องการได้เพียงพอ จึงเกิดสถานการณ์ที่ผู้โดยสารหลายคนต้องซื้อตั๋วที่นั่งใบท้ายๆ ที่มีราคาสูง โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว ซึ่งที่ผ่านมาCAAT ได้เร่งกระบวนการอนุมัติ/อนุญาตให้สายการบินสามารถจัดหาอากาศยานเพิ่มเติมให้รวดเร็วขึ้น และผ่อนปรนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สายการบินสามารถจัดหาอากาศยานมาใช้เพิ่มเติมและทันต่อความต้องการเดินทางของผู้โดยสาร

นอกจากนี้ คณะกรรมการการบินพลเรือนยังมีประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณค่าโดยสารและค่าระวางสำหรับอากาศยานขนส่งในเส้นทางบินภายในประเทศ.. 2561 เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้โดยสารและควบคุมไม่ให้ค่าโดยสารสูงจนเกินไป โดยเฉพาะช่วงที่ประชาชนมีความต้องการเดินทางสูง โดยได้กำหนดเพดานราคาค่าโดยสารขั้นสูงสุดไว้ (ไม่รวมค่าบริการเสริม ค่าธรรมเนียม และภาษี) ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ https://www.caat.or.th/th/archives/36895 และหากผู้โดยสารพบราคาตั๋วเครื่องบินที่เกินเพดานค่าโดยสารสามารถร้องเรียนมาที่CAAT ผ่านเว็บไซต์ www.caat.or.th/complaint/

ด้วยเหตุนี ในการจองตั๋วเครื่องบินแต่ละครั้ง นอกจากจะพิจารณาเรื่องราคาตั๋วแล้ว ผู้โดยสารยังควรอ่านรายละเอียดเงื่อนไขการสำรองที่นั่งและซื้อบัตรโดยสารของสายการบินอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้การเดินทางราบรื่นและถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า