บทความ-สารคดี

ไวสาลี เมืองหลวงแคว้นวัชชี

โดย อารามชรา

เมื่อเรียนวิชาพุทธประวัติ หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี นั้น ผู้เรียนต้องท่อง 16 แค้วนในอินเดีย(ชมพูทวีป) ให้ขึ้นใจ เพราะเกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของพระพุทธเจ้า ใน16 แคว้นนั้น มีแคว้นวัชชีอยู่ด้วย

 เมื่อก่อนเข้าพรรษา ปีนี้ ดร.พระครูวินัยธร สมุทร ถาวรธมฺโม วัดมหธาตุ ท่าพระจันทร์ชักชวนให้ดินทางไปอินเดีย แต่ระยะสั้น เพียง 4-5 วัน นอกจากไหว้พระที่พุทธคยา ไปเยี่ยมและพักที่ ศูนย์วิปัสสนา และโรงพยาบาลภูริปาโล พุทธคยา แล้วเดินทางไปไวสาลีผ่านราชคฤห์ และนาลันทา

 ที่ไวสาลี ซึ่งมีวัดไทยชื่อวัดไทยไวสาลี ที่ ดร.พระครูสิทธิปริยัติวิเทศ หรือพระมกาฉลองจันทสิริ เป็นผู้สร้าง และเป็นเจ้าอาวาสให้ความเอื้อเฟื้อทั้งที่พักและอาหาร รวมทั้งพาชมที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่งในไวสาลี

นอกจากวัด ท่านยังสร้างโรงเรียนให้เด็กชายหญิงได้เรียนฟรี 

(ขอทำความเข้าใจกับผู้อ่านว่าอย่าสับสนที่ผมเขียนไวสาลี ก็มี เวสาลี ก็บ่อย ขอแจ้งว่าไวสาลีคือชื่อปัจจุบัน เวสาลี คือชื่อในสมัยโบราณ)

 เวสาลี ที่เคยเป็นเมืองหลวง แคว้นวัชชีในอดีต ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร

ส่วนวัชชี นั้นไม่ มีชื่อในภูมิศาสตร์ แต่มีชื่อไวสาลี ที่มีฐานะเป็นจังหวัดขึ้นมาแทน

เรียกว่าจังหวัดไวสาลี ในรัฐพิหาร

พุทธประวัติเกี่ยวกับวัชชี หรือเวสาลีนั้นมีมากมายหลายเรื่อง

อดีต พระราชธรรมมุนี (เจ้าคุณเกียรติ สุกิตติ ..7 M.A) (มรณภาพ)อดีต ผู้ช่วยเจ้าาวาสวัดจักรวรรดิ์  อดีตพระธรรมทูต สายอินเดียเนปาล ยุคแรก อดีต นศ.ปริญญาเอกBHU.เขียนในเรื่องเกี่ยวกับอินเดีย เมื่อ . . 2518 ว่า

เวสาลี นครหลวงของวัชชี เป็นจุดศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในสมัยของพระพุทธกาล

พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมเวสาลีครั้งแรกในปีที่ 5 นับแต่ตรัสรู้ ตามการกราบทูลเชิญขอบคณะผู้ครองแคว้น เมื่อเวสาลีประสพทุพภิกขภัยและฉาตกภัยร้ายแรง ผู้คนล้มตายนับจำนวนไม่ได้ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึง ด้วยอำนาจพุทธานุภาพทำให้ภัยทั้งหลายดังกล่าวสงบลงและหมดสิ้นไปในระยะเวลาอันรวดเร็ว

พระพุทธองค์เสด็จจำพรรษาในปีนั้น กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวันใกล้เวสาลี

พระพุทธองค์เสด็จเวสาลีด้วยกันหลายครั้ง และแต่ละครั้งมักเสด็จประทับที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวันดังกล่าว 

แต่ก็ปรากฎว่าได้เสด็จประทับ ที่แห่งอื่นอีกหลายแห่งเช่นกัน บุคคลสำคัญๆ จำนวนมากของแคว้นวัชชี เช่น เจ้ามหาลิ เจ้าภัททิยะ เจ้าสุนักขัตตะ เจ้าสาฬหะ เจ้าอภัย และสีหะเสนาบดี เป็นต้น ได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทูลถามปัญหาและฟังธรรมเทศนาหลายครั้ง ต่างวาระต่างโอกาสกัน ที่ป่ามหาวันนี้

และที่ป่ามหาวันนี้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีกับเหล่านางสากิยานีอีกห้าร้อย ได้พร้อมกันปลงผมและครองเพศนักบวช โดยเดินทางจากกบิลพัสดุ์มาเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อกราบทูลขอบวชในพระศาสนา อันมีผลทำให้พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธานุญาตให้มีภิกษุณีสงฆ์หรือให้สตรีบวชเป็นภิกษุณีในพระศาสนาได้(แต่เงื่อนไขมาก)

พระพุทธองค์ทรงแสดงพระสูตรสำคัญๆ หลายสูตรที่เวสาลี อาทิเช่น รตนสูตร มหาลิสูตร มหาสีหนาทสูตร จูลสัจจกะ และมหาสัจจกะสูตร เตวิชชสูตร สุนักขัตตสูตร และสารันททสูตร ซึ่งทรงแสดงอปริหานิยธรรม7 ประการแก่พระเจ้าลิจฉวี ซึ่งได้พากันมาเฝ้าพระพุทธองค์ สารันททเจดีย์อันเป็นที่ทรงแสดงพระสูตรดังกล่าว

ในการเสด็จเวสาลีครั้งสุดท้าย ทรงรับสวนมะม่วงของนางอัมพปาลีคณิกา หญิงงามเมืองแห่งเวสาลี เป็นสังฆารามในพระศาสนา

พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เวฬุวคาม ทรงปลงพระชนมายุที่ปาวาลเจดีย์ และเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้วได้ 100 ปี ได้มีการทำสังคายนา ครั้งที่สอง วาลุการาม ทั้งหมดอยู่เวสาลีแห่งแคว้นวัชชี 

เนื่องด้วยความสำคัญ ที่พระพุทธองค์ประทับก็ดี เสด็จผ่านก็ดี พระเจ้าอโศกมหาราชทรงให้สร้างเสาอโศกด้วยหินทราย สูง 11-13 เมตร ซึ่งมีสิงห์หมอบที่ยอดเสา เป็นสัญลักษณ์แห่งการบรรลือธรรมไว้เป็นที่ระลึก

 นอกจากนั้นชาวพุทธลำดับต่อมาได้สร้างพระเจดีย์เพื่อบูชา รวมทั้งปาวาลเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ครั้งที่ได้รับส่วนแบ่ง หลังจากถวายเพลิงพระศพ มกุฏพันธเจดีย์เมืองกุสินาราด้วย

เมืองวัชชี ที่มีเวสาลี เป็นเมืองหลวง ปกครองด้วยความสามัคคีธรรม มีราชวงศ์ 8 วงศ์เปลี่ยนกันปกครอง และมีการประชุมระหว่างราชวงศ์ เป็นประจำ แคว้นนี้จึงเข้มแข็ง เป็นที่หวั่นเกรง ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูแห่ง กรุงราชคฤห์ ต้องการเอามาไว้ในอำนาจจึงย้ายเมืองหลวงจากราชคฤห์มาตั้งที่ ปาฏลีบุตร (ปัตตนะ) ริมฝั่งคงคา เตรียมบุกขยี้แคว้นวัชชี  แต่วัชชีเข้มแข็งเพราะสามัคคีธรรม วัสสการพราหมณ์ ชาวราชคฤห์ จึงรับอาสาพระเจ้าอชาตศัตรูไปบ่อนทำลายให้เจ้าวัชชีแตกสามัคคี เมื่ออ่อนแอ จะได้เข้าตีได้ง่าย

(ไม่มีรายละเอียดว่าตีได้ตอนไหน รู้แต่ว่าแผนวัสสกรพราหทณ์ สำเร็จ

ปัจจุบันเมืองหลวงหรือเวสาลี เหลือเพียงเนินดินที่กว้างขวาง สำนักโบราณคดี ได้สงวนและห้ามบุกรุก

 ส่วนป่ามหาวัน และกูฏาคาร ที่ประทับของพุทธองค์ เหลือเพียงเนินดิน เจดีย์ใหญ่ และเสาพระเจ้าอโศก ที่สมบูรณ์ เป็นจุดที่นักแสวงบุญ หรือนักท่องเที่ยวต้องไปชม สักครั้งเดียวในชีวิตก็ยังดี เพื่อเป็นทัสนานุตริยะ

(ยังมีต่อ)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า