จีนศึกษา ๒๙๗ จีนในการดำเนินความสัมพันธ์กับอาเซียน
ข้อวิเคราะห์เกี่ยวกับท่าทีและความคาดหวังของจีนในการดำเนินความสัมพันธ์กับอาเซียน เพื่อพิจารณาแนวทางในการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะในการรับรู้ที่สำคัญร่วมกัน ๕ ด้าน กล่าวคือ
๑. ร่วมกันผลักดันการสร้างสรรค์ข้อริเริ่ม “สายแถบและเส้นทาง” (Belt and Road Initiative: BRI) โดยทั้งสองฝ่าย (จีนกับอาเซียน) ได้มีความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับการเชื่อมต่อข้อริเริ่ม “สายแถบและเส้นทาง” กับ “แผนความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนปี ๒๐๒๕”
๒. ร่วมกันสร้างจุดเด่นแห่งความร่วมมือ ซึ่งทั้งสองได้ฝ่ายเห็นพ้องกันในการกำหนดให้ปี ๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) ที่ผ่านไปนั้น เป็นปีแห่งความร่วมมือเศรษฐกิจดีจิดัลจีน–อาเซียน เพื่อขยายความร่วมมือด้านอีคอมเมิร์ส การประดิษฐ์คิดสร้างทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เครือข่าย 5G และเมืองอัจฉริยะ
๓. ร่วมกันรักษาลัทธิพหุภาคี โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่า การยืนหยัดในลัทธิพหุภาคี มีความสอดคล้องกับผลประโยชน์ร่วมกันของจีนและประเทศในอาเซียน
๔. ร่วมกันสร้างกฎเกณฑ์ระดับภูมิภาค ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศของจีนและประเทศในอาเซียนต่างเห็นพ้องกันในการร่วมกันจัดทำ “ประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้” (Code of Conduct in the South China Sea : COC) ซึ่งเป็นผลคืบหน้าที่สำคัญของการปรึกษาหารือกัน
๕. ร่วมกันรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ ซึ่งเป็นความปรารถนาร่วมกันของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค รวมถึงจีนและอาเซียน รวมทั้งเป็นภารกิจร่วมกันของจีนและอาเซียน
ประมวลโดย พลโท ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=8NzW0txpTxw และเว็บไซต์http://www.chinadaily.com.cn/a/201908/01/WS5d42214fa310d83056402178.html และเว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=0sCVcLstzbE )