ภูมิภาค

สุราษฎร์ธานีฝึกศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดและการรับสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

 วันที่ 27 ..2565 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัย มาตรการที่ 10 และมาตรการที่ 11 ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนายประเวศ ไทยประยูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฝึกซ้อมแผน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการน้ำและเผชิญเหตุ ทั้งในส่วนกลางและหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ได้ร่วมซักซ้อมการปฏิบัติตามมาตรการ ให้สามารถติดตามประเมิน และคาดการณ์สถานการณ์น้ำ พร้อมแจ้งเตือน รวมถึงการบริหารจัดการน้ำ และการให้ความช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบให้มีความเป็นเอกภาพ ทันต่อสถานการณ์เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 2565 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัย ในพื้นที่ .สุราษฎร์ธานี

สำหรับรูปแบบการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ เป็นการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise : TTX) โดยจำลองสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่.สุราษฎร์ธานี มีขั้นตอนในการจำลองการจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย และการใช้กลไกการปฏิบัติตามโครงสร้างของศูนย์ส่วนหน้า รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทั้งเครื่องจักรเครื่องมือ แผนเผชิญเหตุ โดยแบ่งการทำงานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มคาดการณ์สภาพอากาศ   กลุ่มประเมินสถานการณ์น้ำและบริหารจัดการน้ำ   กลุ่มแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์  กลุ่มปฏิบัติการและเผชิญเหตุ

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า  ตามที่คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2565 รับทราบมาตรการรับมือฤดูฝนปี2565 และโครงสร้างเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงการเกิดอุทกภัยด้วย เพื่อให้การเตรียมการรับมือกับวิกฤตน้ำในอนาคตภายใต้กลไกของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ..2561 ในกรณีของสาธารณภัยด้านทรัพยากรน้ำ ความเชื่อมโยงระหว่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ..2550 ที่ได้มีการจัดองค์กรหรือส่วนงานต่างๆ เพื่อรับผิดชอบทั้งในระดับนโยบาย ระดับบัญชาการระดับอำนวยการ และระดับปฏิบัติการ ตามระดับภัยต่าง โดยเฉพาะในกรณีที่สาธารณภัยร้ายแรงอยู่ในระดับ 3-4 ที่บูรณาการร่วมกับกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ..) ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ..2558 และกฎหมายว่าด้วยการเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพสูงสุด ดำเนินงานเพื่อการบริหารจัดการวิกฤตน้ำที่มุ่งเน้นการจัดการมวลน้ำมากกว่ามวลชนในภาวะฉุกเฉิน ยึดหลักสากลการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Disaster RiskManagement) ตั้งแต่การเตรียมการป้องกันก่อนเกิดภัย การเตรียมความพร้อมร่วมกับหน่วยปฏิบัติ การวางแผนและจัดสรรน้ำอย่างเหมาะสม การวิเคราะห์คาดการณ์ที่แม่นยำทันต่อเหตุการณ์ การผันน้ำข้ามลุ่ม เพื่อบรรเทาผลกระทบ และการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาระยะยาวเพื่อลดความเสี่ยง

อย่างไรก็ตามกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) จะดำเนินการขับเคลื่อน มาตรการที่ 11 ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย ผ่านกระบวนการจัดการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและกิจกรรมในการสร้างความพร้อมและเพิ่มศักยภาพของหน่วยงานและบุคลากร รวมทั้งทดสอบการประสานงานและบูรณาการความร่วมมือของศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ และจะเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรการที่ 10 จัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุระดับต่าง โดยได้กำหนดแผนการฝึกซ้อมฯ ระหว่างเดือนพฤษภาคมมิถุนายน 2565 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (จังหวัดนำร่อง) พิษณุโลก อุบลราชธานี และจังหวัดชัยนาท ระยะถัดไป ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จันทบุรี เพชรบุรี และจังหวัดยะลา โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณสำหรับการฝึกซ้อม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า