ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานจิตอาสาพระราชทาน
พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ 29 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 น.นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ให้การต้อนรับ พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน และคณะในโอกาสเดินทางมาตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานจิตอาสาพระราชทานพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ตำบลหนองช้างใหญ่อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรับการบรรยายสรุป การดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดอุบลราชธานี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี บรรยายสรุปการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดอุบลราชธานี
และบรรยายสรุปการดำเนินการจิตอาสาภาคประชาชน โดยนายสรภพ พูลเพิ่ม ประธานกลุ่มSaveUbon
ณ อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อรับฟังบรรยายสรุป
ทั้งนี้จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินงานศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานจังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินกิจกรรมจิตอาสา รวมทั้งสิ้นจำนวน 270 โครงการ ประกอบด้วยจิตอาสาพัฒนา จำนวน108 โครงการ จิตอาสาภัยพิบัติ จำนวน 83 โครงการ จิตอาสาสนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชานแดน ใช้สำหรับดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริ ฯ บรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 จำนวน 6 แห่ง ๆละ 1๐,๐๐๐ บาท โครงการฟาร์มตัวอย่าง ต้านภัยโควิด-19 (กิจกรรมโคก หนอง นา โมเดล ณฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริ ฯ บ้านยางน้อย ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี) จิตอาสาเฉพาะกิจ จำนวน 79 โครงการ จิตอาสาภาคประชาชน ช่วยเหลือผู้ ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กิจกรรมจิตอาสา มีแล้วแบ่งปัน รับบริจาคสิ่งของ “ คนอุบล รวมพลังสู้ภัยโควิด ไปด้วยกัน” สำหรับบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19 นอกจากนี้จังหวัดอุบลราชธานี มีแผนในการรวบรวมจิต อาสาภาคประชาชน ให้เป็นกลุ่มเพื่อเพิ่ม ศักยภาพในการป้องกันและบรรเทา ความเดือนร้อน ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติโดยมีกลุ่ม Save Ubon เป็นแกนนำ
ส่วนการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และการแก้ไขภัยแล้งของจังหวัดอุบลราชธานี การบริหารจัดการน้ำจังหวัดอุบลราชธานี ยึดแนวทางตามนโยบายของกรมชลประทานมาเป็นหลักปฏิบัติ ในการบริหารจัดการอุทกภัย ต้นเก็บ กลางชะลอ ปลายระบาย โดยมีการบูรณาการการจัดการน้ำร่วมกับสำนักงานชลประทานที่อยู่ต้นน้ำอย่างใกล้ชิด ทั้งสายมูล และสายชี ให้มีการกักเก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำ เขื่อนสายต่างๆที่อยู่ต้นน้ำให้มากที่สุดในช่วงน้ำหลาก รวมถึงมีเขื่อนระบายน้ำในลำน้ำชี และน้ำมูล มีการชะลอ / หน่วงน้ำ รวมถึงระบายน้ำในอัตราที่เหมาะสมตามช่วงเวลา เพื่อให้จังหวัดอุบลราชธานีมีเวลาเตรียมการแจ้งเตือน สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้อย่างทันสถานการณ์ หากเกิดกรณีวิกฤต รวมทั้งจังหวัดอุบลราชธานียังได้มีการเร่งผลักดันน้ำออกสู่แม่น้ำโขงให้เร็วที่สุดผ่านเครื่องผลักดันน้ำที่ได้จัดเตรียมไว้
การบริหารจัดการภัยแล้ง ได้มีการวางแผนจัดสรรน้ำอย่างเหมาะสม โดยยึดลำดับความสำคัญของประเภทการใช้น้ำตามแนวทางของกรมชลประทาน ได้แก่ 1. น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค 2. นำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ 3. น้ำเพื่อการเกษตร และ4. น้ำเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอื่นๆโดยมีการวางแผนการใช้น้ำและบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากอ่างเก็บน้ำในความรับผิดชอบจำนวน 13 แห่ง ความจุรวมประมาณ 130 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งยังประสานความร่วมมือกับจังหวัดตอนบนของน้ำมูลและชี ให้มีการระบายน้ำลงมาสู่จังหวัดอุบลราชธานีอย่างเหมาะสม และประสานความร่วมมือกับ กฟผ. การประปาส่วนภูมิภาค และผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบริหารจัดการเขื่อนปากมูลให้มีระดับน้ำและการกักเก็บน้ำที่เหมาะสมกับสถานการณ์ลดข้อขัดแย้งด้านน้ำในพื้นที่
จากนั้น เวลา 11.00 น. คณะได้ลงพื้นที่รับฟังบรรยายสรุป โครงการ“การจัดการน้ำตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” (ธนาคารน้ำใต้ดิน) โดย นายธนัท ชายทวี นายอำเภอสว่างวีระวงศ์ ณ ที่ว่าการอำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี
สุมาลี สมเสนาะ/ข่าว ศรีสมร บุญวิจิตร/ภาพ