จีนศึกษา ๕๕ เขตนำร่องอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน
คณะรัฐมนตรีจีนอนุมัติการจัดตั้งเขตนำร่องอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนใน ๒๗ เมืองและภูมิภาค(27个城市和地区设立跨境电子商务综合试验区的批复) รวมถึงเมืองเอ้อเอ่อร์ตัวซือ (鄂尔多斯) หรือ ออร์ดอส (Ordos) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ทำให้ปัจจุบันจีนมีเขตนำร่องอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนรวมแล้ว ๑๓๒ แห่ง กล่าวคือ
๑. เมืองและภูมิภาคที่เข้าร่วมเขตนำร่องอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน อาทิ เมืองเอ้อเอ่อร์ตัวซือ(ของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ) เมืองหยางโจว (ของมณฑลเจียงซู) เมืองเจิ้นเจียง เมืองไถโจว เมืองจินหัว และเมืองโจวซาน เป็นต้น
๒. การสร้างพื้นที่นำร่องที่ครอบคลุมของอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน จะต้องนำแนวคิดของนายสีจิ้นผิง ว่าด้วยลัทธิสังคมนิยมทึ่มีลักษณะแบบจีนสำหรับยุคใหม่ และดำเนินการตามเจตนารมณ์ของสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ ๑๙ และการประชุมเต็มคณะของสภาประชาชนแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๙ รวมทั้งปฏิบัติตามการตัดสินใจของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและคณะรัฐมนตรี นำไปใช้ในการดำเนินงาน โดยแสวงหาความก้าวหน้าในขณะที่รักษาเสถียรภาพ นำแนวคิดการพัฒนาใหม่ เร่งการสร้างรูปแบบการพัฒนาใหม่ ปฏิรูปและเปิดกว้างอย่างครอบคลุม ยึดมั่นกับการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อให้อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนมีบทบาทอย่างแข็งขันในการช่วยเหลือการเปลี่ยนแปลงและยกระดับอุตสาหกรรมดั้งเดิมและส่งเสริมการพัฒนาดิจิทัลของอุตสาหกรรม รวมทั้งพยายามทุกวิถีทางเพื่อรักษาเสถียรภาพพื้นฐานของการค้าต่างประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาการค้าคุณภาพสูง ในเวลาเดียวกัน จำเป็นต้องรับรองความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยของเครือข่าย ความปลอดภัยของข้อมูล ความปลอดภัยของธุรกรรม ความมั่นคงทางชีวภาพของชาติ คุณภาพและความปลอดภัยของสินค้านำเข้าและส่งออก และป้องกันความเสี่ยงในการทำธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ปกป้องสิทธิ์และผลประโยชน์ของข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงการยึดถือการพัฒนาบรรทัดฐาน การมีส่วนร่วมอย่างยุติธรรมในการแข่งขันทางการตลาดและการสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวย
๓. รัฐบาลประชาชนของมณฑล (เขตปกครองตนเอง) ที่เกี่ยวข้อง ควรเสริมสร้างองค์กรและความเป็นผู้นำในการก่อสร้างเขตนำร่องอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงกลไก ชี้แจงการแบ่งงานและดำเนินการตามความรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการพัฒนาเขตนำร่องอย่างครบวงจรอย่างมีระเบียบตามข้อกำหนดของโครงการนำร่อง และแผนการดำเนินงานเฉพาะควรได้รับการปรับปรุงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยองค์กรและการดำเนินงานควรได้รับการจัดระเบียบอย่างดี จำเป็นต้องปรับปรุงงานนำร่องเพิ่มเติม เน้นประเด็นสำคัญ ขับเคลื่อนนวัตกรรม ให้บทบาทชี้ขาดของตลาดในการจัดสรรทรัพยากรอย่างเต็มที่ ซึ่งจำเป็นต้องสร้างและปรับปรุงกลไกการจัดการข้อมูลอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และให้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสมตามความต้องการการจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของคณะรัฐมนตรีจะต้องเสริมสร้างการประสานงาน ให้คำแนะนำและการสนับสนุนนโยบายสำหรับพื้นที่นำร่องอย่างมีประสิทธิภาพตามการแบ่งหน้าที่ ตามหลักการส่งเสริมนวัตกรรม ยึดมั่นในแนวทางเสริมสร้างการประสานงานและความร่วมมือที่เกี่ยวข้องของธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเขตนำร่องและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนได้ดียิ่งขึ้น
บทสรุป การดำเนินการจัดตั้งเขตนำร่องอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนของจีนดังกล่าว จำเป็นต้องปรับปรุงระบบข้อมูลสถิติและนโยบายสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการบริโภคสำหรับการส่งออกการค้าปลีกในเขตนำร่องที่ครอบคลุมเมืองต่างๆ (ภูมิภาค) รวมทั้งสนับสนุนองค์กรต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้างและแบ่งปันคลังสินค้าในต่างประเทศ โดยให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้นำในการประสานงานโดยรวม ตลอดจนวิเคราะห์ติดตามและให้บริการแนะนำ การจัดตั้งและปรับปรุงกลไกการประเมินการ ดำเนินการ และรายงานประเด็นสำคัญต่อคณะรัฐมนตรีของจีนในเวลาที่เหมาะสม
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://m.sohu.com/a/521422497_115362/?pvid=000115_3w_a)