ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเพจเฟสบุ๊ก รพ.สนาม มธ.โพสต์ ระบุว่า เตรียมรับสถานการณ์กันใหม่อีกรอบ งานปีใหม่ก็อาจจะต้องถูกคิดทบทวนกันอีกหลาย ๆ รอบ
วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน จันทร์แรกหลังเทศกาลลอยกระทงและครบรอบสามสัปดาห์
นับแต่เริ่มมาตรการผ่อนคลายการล็อคดาวน์ของ ศบค.
วันนี้วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน จันทร์แรกหลังเทศกาลลอยกระทงและครบรอบสามสัปดาห์
นับแต่เริ่มมาตรการผ่อนคลายการล็อคดาวน์ของ ศบค.
วันนี้จำนวนผู้ป่วยโควิดรายใหม่ทั่วประเทศอยู่ที่ 6,428 คน และมีผู้เสียชีวิตรวม 49 คน
ถ้าคิดจำนวนผู้ป่วยโควิดรายใหม่เฉลี่ยตลอดหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวเลขเฉลี่ยของผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ที่ 5,690 คน ดูต่ำลงกว่ารอบสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย แต่ยังกดไม่ค่อยลงมากกว่านี้ละ สัปดาห์นี้จะเป็นสัปดาห์ชี้ชะตา เพราะครบสามสัปดาห์หลังจากคลายล็อคได้เวลาที่จะต้องพบผู้ป่วยรายใหม่ตามทฤษฎีระบาดวิทยาแล้วนะ และถ้าจนถึงวันจันทร์หน้า ตัวเลขเฉลี่ยยังอยู่ไม่เกินหกพันคนต่อวัน ก็คงพอจะสบายใจได้ว่า เราช่วยกันควบคุมการติดเชื้อได้ดีพอสมควร แม้จะมีกิจกรรมต่างๆ ในทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดเพิ่มขึ้นมากมาย และพวกเราทั้งประเทศอาจจะพอจะโล่งใจไปได้บ้างว่าพวกเราน่าจะรอดแล้ว
แต่ว่า ถ้าตัวเลขสัปดาห์หน้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ก็คงต้องกลับมาประเมินและเตรียมตัวรับสถานการณ์กันใหม่อีกรอบ ล่ะ และงานปีใหม่ก็อาจจะต้องถูกคิดทบทวนกันอีกหลาย ๆ รอบว่า จะมีหรือจะจัดกันได้หรือเปล่า และมีรูปแบบอย่างไรบ้าง
สถานการณ์โควิด-19 ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ก็ยังคงเป็น “ขาลง” อยู่เช่นเดิมสอดคล้องกับการที่จังหวัดปทุมธานี มีผู้ป่วยโควิดโดยรวมลดลงมาเรื่อย ๆ จากลำดับ 7 มาเป็นลำดับ 9 และตกลงมาอยู่ลำดับที่ 10 และวันนี้ ปทุมธานีมีผู้ป่วยสะสมรวมสามหมื่นเก้าพันกว่าคน และได้ตกลงมาเป็นลำดับที่ 13 ของประเทศแล้ว เช้าวันนี้ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์มียอดผู้มารับการคัดกรอง RT-PCR จำนวน 118 ราย มีผลบวกเพิ่มขึ้นจำนวน 7 ราย คิดเป็นราว 6% ของผู้มารับการตรวจ และสำหรับตรวจ ATK ในกลุ่มผู้มารับบริการรักษาพยาบาล ในฐานะคนไข้ในรวม84 ราย ก็ไม่พบผล Positive เลย จำนวนผู้ป่วยโควิดทั้งหมดที่เรารับไว้รักษาอยู่ในโรงพยาบาลขณะนี้ มีเพียง 18 รายเท่านั้น และไม่มีผู้ป่วยอาการวิกฤตที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจอีกเลย ในขณะที่ ในศูนย์ธรรมศาสตร์ Home Isolation ในวันที่เปิดดูแลผู้ป่วยโควิดมาครบ150 วันในวันนี้ มีผู้ป่วยแอคทีฟที่เรารับดูแลรักษาอยู่ในโครงการเพียง 27 รายเท่านั้น
เมื่อการระวังป้องกันและรักษาผู้ป่วยโควิดลดลง งานหลักของพวกเราที่รพ.ธรรมศาสตร์ ในขณะนี้จึงโฟกัสไปที่สองเรื่อง คือการเตรียมปรับปรุงอาคาร สถานที่หอผู้ป่วย ห้องความดันลบ และจัดการครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และพื้นที่อาคารให้มีความสมบูรณ์ที่สุดสำหรับรองรับสถานการณ์การระบาดรอบหน้า ถ้าจะมีขึ้น กับการให้บริการทางการแพทย์ที่ดียิ่งกว่าเดิมสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ร่วมไปกับการดูแลผู้ป่วยโควิด กับอีกเรื่องหนึ่ง คือการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโควิดให้กับผู้คนให้มากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ
ในเรื่องการปรับปรุงอาคารสถานที่ ขณะนี้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์กำลังเร่งปรับปรุงหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ซึ่งเป็น ER ที่ใหญ่ที่สุดในทางตอนเหนือของกทม. ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ หลังจากซ่อม ๆ หยุด ๆ มานานกว่าครึ่งปีแล้ว เพราะต้องใช้วอร์ดER นี้ เป็นด่านหน้าในการรับผู้ป่วยโควิดในช่วงวิกฤตในหลายเดือนที่ผ่านมาโดยตลอด ขณะนี้การปรับปรุง ER ของเราได้ปรับรูปแบบใหม่ให้สามารถมีโซน Negative Pressure สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินที่น่าสงสัยว่าอาจติดเชื้อ Covid หรือเข้าข่ายเป็น PUI ให้มีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอกับสถานการณ์และมีความปลอดภัยต่อทั้งผู้ป่วยอื่นและต่อบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น
นอกจากนั้น การที่เราได้รับความสนับสนุนอย่างดียิ่งจากมูลนิธิชัยพัฒนา ในการให้เงินทุนมาปรับปรุงห้องแยกผู้ป่วยให้เป็น Semi-ICU อีกจำนวนมากถึง 15 ห้องเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิดสีแดง ก็กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ด้วย เรื่องการปรับปรุงอาคารสถานที่เพื่ออยู่กับโควิดในระยะยาวต่อไปนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดเตรียมห้องผู้ป่วยและเตียงเฉพาะสำหรับโควิดจำนวน 120 เตียงของรพ.ธรรมศาสตร์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เข้มแข็งและมีความปลอดภัยต่อทั้งผู้ป่วยและบุคลากรมากขึ้น และจะทำให้พวกเรามีความมั่นใจและเชื่อมั่นในศักยภาพที่สูงมากยิ่งขึ้นของโรงพยาบาลในการรองรับสถานการณ์โควิดระลอกใหมีตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นไปได้ดียิ่งกว่าเดิม
อีกเรื่องหนึ่งที่พวกเราทำมาอย่างต่อเนื่องและจะทำต่อไปเรื่อยๆ คือการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้แก่ผู้คนให้มากที่สุด แม้ว่าศูนย์รับวัคซีนธรรมศาสตร์รังสิตที่ยิม 4 จะปิดตัวไปแล้วตั้งแต่ 14 พฤศจิกายน เมื่อให้บริการครบ 161 วันแล้วก็ตามแต่เรายังมีผู้รอรับวัคซีนเข็มที่ 2 จากธรรมศาสตร์อีกหลายหมื่นคนในเวลาจากนี้ไปจนสิ้นเดือนธันวาคม เพราะฉะนั้น จนถึงสิ้นปีเราก็จะยังคงให้ Astra Zeneca เข็มที่สองอยู่อย่างต่อเนื่องเกือบทุกวัน โดยย้ายมาให้วัคซีนอยู่ที่ อาคารบริการชั้น 3 ด้านหลังของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โดยยังคงมีผู้มารับบริการโดยเฉลี่ยวันละประมาณมากกว่าหนึ่งพันคน เพียงแต่ เมื่อย้ายมารับวัคซีนที่รพ. เราก็จะไม่นัดให้มารับวัคซีนในวันเสาร์–อาทิตย์ เหมือนกับที่นัดในยิม 4 อีกแล้ว เพราะฉะนั้น งานให้บริการวัคซีนของพวกเราจึงยังคงมีอยู่ตลอด และคงยาวต่อไปจนถึงปีหน้าแน่นอน
ยิ่งกว่านั้น เมื่อมีวัคซีนหลากหลายชนิดมากขึ้น เราจึงต้องมาใช้เวลาจัดการการนัด จัดเตรียมวัคซีนสำหรับ Pfizer เข็มบูสเตอร์หรือเข็มแรก เข็มสอง สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า18 ปี สำหรับ AZ เข็มที่สอง และจัดการสูตรไขว้ Sinovac+Astra สำหรับผู้ที่เคยรับวัคซีนเข็มแรกแล้วจำนวนมากที่โชคร้าย กลายเป็นผู้ติดเชื้อเสียก่อน ได้รับวัคซีนครบ ซึ่งบัดนี้พอหายจากโควิดมาหลายเดือนแล้ว ก็มาขอรับวัคซีนเข็มที่สองตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข การบริหารจัดการเรื่องวัคซีนในขณะที่เรามีทั้ง ซิโนแวค ไฟเซอร์และแอสตราเซเนกา ซึ่งยังคงไม่สามารถกำหนดวันเวลาและจำนวนล่วงหน้าที่จะได้รับวัคซีนมาอย่างชัดเจนได้ เช่นนี้ จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทั้งในแง่ของการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานของสธ. การพิจารณาถึงภาวะสุขภาพและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย ไปจนถึงการบริการจัดการและเตรียมการในเรื่องโลจิสติกส์เกี่ยวกับวัคซีนของโรงพยาบาล ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากพอสมควร
ในขณะที่พวกเราในโรงพยาบาลกำลังมีภาระต้องดูแลคนไข้อื่น ๆ ที่ไม่ใช่โควิด ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีมากกว่าช่วงก่อนโควิดแล้วด้วยในขณะนี้
แต่พวกเราที่นี่ขอรับรองและยืนยันว่า พวกเราจะทำทุกๆงานให้ดีที่สุด ด้วยใจและให้สมกับที่สังคมและผู้คนเชื่อมั่น และให้ความไว้วางใจต่อเราตลอดมา
ทำตามหน้าที่ต่อไป แล้วคิดเอาเองว่า หน้าที่คืออะไร
จำนวนผู้ป่วยโควิดรายใหม่ทั่วประเทศอยู่ที่ 6,428 คน และมีผู้เสียชีวิตรวม 49 คน
ถ้าคิดจำนวนผู้ป่วยโควิดรายใหม่เฉลี่ยตลอดหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวเลขเฉลี่ยของผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ที่ 5,690 คน ดูต่ำลงกว่ารอบสัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย แต่ยังกดไม่ค่อยลงมากกว่านี้ละ สัปดาห์นี้จะเป็นสัปดาห์ชี้ชะตา เพราะครบสามสัปดาห์หลังจากคลายล็อคได้เวลาที่จะต้องพบผู้ป่วยรายใหม่ตามทฤษฎีระบาดวิทยาแล้วนะ และถ้าจนถึงวันจันทร์หน้า ตัวเลขเฉลี่ยยังอยู่ไม่เกินหกพันคนต่อวัน ก็คงพอจะสบายใจได้ว่า เราช่วยกันควบคุมการติดเชื้อได้ดีพอสมควร แม้จะมีกิจกรรมต่างๆ ในทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดเพิ่มขึ้นมากมาย และพวกเราทั้งประเทศอาจจะพอจะโล่งใจไปได้บ้างว่าพวกเราน่าจะรอดแล้ว
แต่ว่า ถ้าตัวเลขสัปดาห์หน้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ก็คงต้องกลับมาประเมินและเตรียมตัวรับสถานการณ์กันใหม่อีกรอบ ล่ะ และงานปีใหม่ก็อาจจะต้องถูกคิดทบทวนกันอีกหลาย ๆ รอบว่า จะมีหรือจะจัดกันได้หรือเปล่า และมีรูปแบบอย่างไรบ้าง
สถานการณ์โควิด-19 ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ก็ยังคงเป็น “ขาลง” อยู่เช่นเดิมสอดคล้องกับการที่จังหวัดปทุมธานี มีผู้ป่วยโควิดโดยรวมลดลงมาเรื่อย ๆ จากลำดับ 7 มาเป็นลำดับ 9 และตกลงมาอยู่ลำดับที่ 10 และวันนี้ ปทุมธานีมีผู้ป่วยสะสมรวมสามหมื่นเก้าพันกว่าคน และได้ตกลงมาเป็นลำดับที่ 13 ของประเทศแล้ว เช้าวันนี้ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์มียอดผู้มารับการคัดกรอง RT-PCR จำนวน 118 ราย มีผลบวกเพิ่มขึ้นจำนวน 7 ราย คิดเป็นราว 6% ของผู้มารับการตรวจ และสำหรับตรวจ ATK ในกลุ่มผู้มารับบริการรักษาพยาบาล ในฐานะคนไข้ในรวม84 ราย ก็ไม่พบผล Positive เลย จำนวนผู้ป่วยโควิดทั้งหมดที่เรารับไว้รักษาอยู่ในโรงพยาบาลขณะนี้ มีเพียง 18 รายเท่านั้น และไม่มีผู้ป่วยอาการวิกฤตที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจอีกเลย ในขณะที่ ในศูนย์ธรรมศาสตร์ Home Isolation ในวันที่เปิดดูแลผู้ป่วยโควิดมาครบ150 วันในวันนี้ มีผู้ป่วยแอคทีฟที่เรารับดูแลรักษาอยู่ในโครงการเพียง 27 รายเท่านั้น
เมื่อการระวังป้องกันและรักษาผู้ป่วยโควิดลดลง งานหลักของพวกเราที่รพ.ธรรมศาสตร์ ในขณะนี้จึงโฟกัสไปที่สองเรื่อง คือการเตรียมปรับปรุงอาคาร สถานที่หอผู้ป่วย ห้องความดันลบ และจัดการครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และพื้นที่อาคารให้มีความสมบูรณ์ที่สุดสำหรับรองรับสถานการณ์การระบาดรอบหน้า ถ้าจะมีขึ้น กับการให้บริการทางการแพทย์ที่ดียิ่งกว่าเดิมสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ร่วมไปกับการดูแลผู้ป่วยโควิด กับอีกเรื่องหนึ่ง คือการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโควิดให้กับผู้คนให้มากยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ
ในเรื่องการปรับปรุงอาคารสถานที่ ขณะนี้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์กำลังเร่งปรับปรุงหอผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ซึ่งเป็น ER ที่ใหญ่ที่สุดในทางตอนเหนือของกทม. ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้ หลังจากซ่อม ๆ หยุด ๆ มานานกว่าครึ่งปีแล้ว เพราะต้องใช้วอร์ดER นี้ เป็นด่านหน้าในการรับผู้ป่วยโควิดในช่วงวิกฤตในหลายเดือนที่ผ่านมาโดยตลอด ขณะนี้การปรับปรุง ER ของเราได้ปรับรูปแบบใหม่ให้สามารถมีโซน Negative Pressure สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินที่น่าสงสัยว่าอาจติดเชื้อ Covid หรือเข้าข่ายเป็น PUI ให้มีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอกับสถานการณ์และมีความปลอดภัยต่อทั้งผู้ป่วยอื่นและต่อบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น
นอกจากนั้น การที่เราได้รับความสนับสนุนอย่างดียิ่งจากมูลนิธิชัยพัฒนา ในการให้เงินทุนมาปรับปรุงห้องแยกผู้ป่วยให้เป็น Semi-ICU อีกจำนวนมากถึง 15 ห้องเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิดสีแดง ก็กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ด้วย เรื่องการปรับปรุงอาคารสถานที่เพื่ออยู่กับโควิดในระยะยาวต่อไปนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดเตรียมห้องผู้ป่วยและเตียงเฉพาะสำหรับโควิดจำนวน 120 เตียงของรพ.ธรรมศาสตร์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เข้มแข็งและมีความปลอดภัยต่อทั้งผู้ป่วยและบุคลากรมากขึ้น และจะทำให้พวกเรามีความมั่นใจและเชื่อมั่นในศักยภาพที่สูงมากยิ่งขึ้นของโรงพยาบาลในการรองรับสถานการณ์โควิดระลอกใหมีตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นไปได้ดียิ่งกว่าเดิม
อีกเรื่องหนึ่งที่พวกเราทำมาอย่างต่อเนื่องและจะทำต่อไปเรื่อยๆ คือการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้แก่ผู้คนให้มากที่สุด แม้ว่าศูนย์รับวัคซีนธรรมศาสตร์รังสิตที่ยิม 4 จะปิดตัวไปแล้วตั้งแต่ 14 พฤศจิกายน เมื่อให้บริการครบ 161 วันแล้วก็ตามแต่เรายังมีผู้รอรับวัคซีนเข็มที่ 2 จากธรรมศาสตร์อีกหลายหมื่นคนในเวลาจากนี้ไปจนสิ้นเดือนธันวาคม เพราะฉะนั้น จนถึงสิ้นปีเราก็จะยังคงให้ Astra Zeneca เข็มที่สองอยู่อย่างต่อเนื่องเกือบทุกวัน โดยย้ายมาให้วัคซีนอยู่ที่ อาคารบริการชั้น 3 ด้านหลังของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โดยยังคงมีผู้มารับบริการโดยเฉลี่ยวันละประมาณมากกว่าหนึ่งพันคน เพียงแต่ เมื่อย้ายมารับวัคซีนที่รพ. เราก็จะไม่นัดให้มารับวัคซีนในวันเสาร์–อาทิตย์ เหมือนกับที่นัดในยิม 4 อีกแล้ว เพราะฉะนั้น งานให้บริการวัคซีนของพวกเราจึงยังคงมีอยู่ตลอด และคงยาวต่อไปจนถึงปีหน้าแน่นอน
ยิ่งกว่านั้น เมื่อมีวัคซีนหลากหลายชนิดมากขึ้น เราจึงต้องมาใช้เวลาจัดการการนัด จัดเตรียมวัคซีนสำหรับ Pfizer เข็มบูสเตอร์หรือเข็มแรก เข็มสอง สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า18 ปี สำหรับ AZ เข็มที่สอง และจัดการสูตรไขว้ Sinovac+Astra สำหรับผู้ที่เคยรับวัคซีนเข็มแรกแล้วจำนวนมากที่โชคร้าย กลายเป็นผู้ติดเชื้อเสียก่อน ได้รับวัคซีนครบ ซึ่งบัดนี้พอหายจากโควิดมาหลายเดือนแล้ว ก็มาขอรับวัคซีนเข็มที่สองตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข การบริหารจัดการเรื่องวัคซีนในขณะที่เรามีทั้ง ซิโนแวค ไฟเซอร์และแอสตราเซเนกา ซึ่งยังคงไม่สามารถกำหนดวันเวลาและจำนวนล่วงหน้าที่จะได้รับวัคซีนมาอย่างชัดเจนได้ เช่นนี้ จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทั้งในแง่ของการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานของสธ. การพิจารณาถึงภาวะสุขภาพและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย ไปจนถึงการบริการจัดการและเตรียมการในเรื่องโลจิสติกส์เกี่ยวกับวัคซีนของโรงพยาบาล ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากพอสมควร
ในขณะที่พวกเราในโรงพยาบาลกำลังมีภาระต้องดูแลคนไข้อื่น ๆ ที่ไม่ใช่โควิด ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีมากกว่าช่วงก่อนโควิดแล้วด้วยในขณะนี้
แต่พวกเราที่นี่ขอรับรองและยืนยันว่า พวกเราจะทำทุกๆงานให้ดีที่สุด ด้วยใจและให้สมกับที่สังคมและผู้คนเชื่อมั่น และให้ความไว้วางใจต่อเราตลอดมา
ทำตามหน้าที่ต่อไป แล้วคิดเอาเองว่า หน้าที่คืออะไร