ผู้ว่าฯปทุมธานี สั่งปิดตลาดดังย่าน อ.เมือง รวมถึงอาคารพาณิชย์โดยรอบและร้านสะดวกซื้อ ศูนย์พัฒนาศักยภาพคนไร้ และแคมป์คนงานก่อสร้าง
คำสั่งจังหวัดปทุมธานี
ที่A๒๒ศ / ๒๕๖๔เรื่อง ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
และการจัดตั้งสถานที่ป้องกันและควบคุมโรค (Quarantine)
ตามที่จังหวัดปทุมธานีได้มีประกาศมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID – 19) และคำสั่งปีดสถานที่ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ถือปฏิบัติแล้วนั้น
โดยที่ปรากฏสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ขึ้นใหม่
ในพื้นที่อำเภอเมืองปทุมธานี พบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่เป็นแบบกลุ่มก้อน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค
ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่และเป็นการป้องกันระงับยับยั้งการแพรโรค
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับ
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
(ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ และข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหาร
ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๖) ลงวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๔ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ ๒๙/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๐
พฤษภาคม ๒๕๖๔ จึงให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (สถานที่พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID – 19) ได้แก่
๑.๑ ตลาดสดอินเตอร์มาร์ท ตำบลบางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี รวมถึงอาคารพาณิชย์โดยรอบ
และร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven เป็นเวลา ๗ วัน ตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ถึงวันที่๖มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔
๑.๒ ศูนย์พัฒนาศักยภาพคนไร้บ้านจังหวัดปทุมธานี (บ้านพูนสุข) เลขที่ ๗/๓ หมู่ที่ ๖ตำบลบางพูน
อำเภอเมืองปทุมธานี เป็นเวลา ๑๔ วัน ตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๓ มิถุนายนพ.ศ. ๒๕๖๔
๑.๓ แคมป์คนงานก่อสร้าง บริษัท กรณิศ ก่อสร้าง จำกัด หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี
เป็นเวลา ๑๔ วัน ตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔
รายละเอียดปรากฎตามแผนที่แนบท้ายคำสั่งนี้
ในการนี้ ขอให้ ศปก.อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้ นที่ หน่วยงานและเจ้ าของกิจการหรือ
ผู้ประกอบการร่วมกันดำเนินการทำความสะอาด ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในสถานที่เสี่ยงดังกล่าว และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตามแนวทางของคำสั่งจังหวัดปทุมธานี และมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคตามที่ทางราชการกำหนด
ข้อ ๒ให้จัดตั้งสถานที่ตามข้อ ๑ เป็นสถานที่ป้องกันและควบคุมโรค (Quarantine) เพื่อกักกัน
ในกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง ตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
ทั้งนี้ ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว เข้า – ออกพื้นที่ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
เจ้าหน้าที่และห้ามมีการชุมนุม ทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกันในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งห้ามบุคคลใด เข้าไปในพื้นที่ที่
กำหนดหรือออกจากสถานที่ป้องกันและควบคุมโรค (Quarantine) เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรค
เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่
/ข้อ๓ มอบหมายให้…
๓.๒ การดำเนินการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี
เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการบูรณาการร่วมกับโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนหน่วยแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตรวจและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงบริเวณพื้นที่ที่กำหนดเป็นสถานที่ป้องกันและ
ควบคุมโรค (Quarantine) ตลอดจนการให้คำแนะนำในการเฝ้าระวังและป้องกันตนเอง
ต.๓ การดำเนินการกำหนดมาตรการควบคุมการเข้า – ออกพื้นที่เพื่อป้องกันและควบคุมโรค
(Quarantine) มอบให้ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและบูรณาการร่วมกับ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดปทุมธานี เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองเจ้าหน้าที่ตำรวจ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการ เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการ
ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมีความผิดตามมาตรา ๕0 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีความผิดตามมาตรา ๑๘
แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. ๒๕๔๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในบรรดาประกาศและคำสั่งที่ได้ออกไว้ก่อนหน้านี้ให้มีผลบังคับใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งฉบับนี้
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้ไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง
แก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา ๓0 วรรคสอง (๑)
แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
(นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม)
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี
ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดปทุมธานี