สังคม-สตรี-เยาวชน

กองทัพอากาศร่วมปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้งประจำปี 2565

วันที่ 3 มีนาคม 2565 พลอากาศเอกนภาเดช  ธูปะเตมีย์  ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้สั่งการให้หน่วยเกี่ยวข้องจัดอากาศยานของกองทัพอากาศ เข้าร่วมการปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้งประจำปี 2565    ร่วมกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยเกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องเกษตรกร ที่ขาดแคลนน้ำทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง  และลดผลกระทบที่เกิดจากพายุลูกเห็บ

โดยการปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้ง ในปี 2565 นี้ กองทัพอากาศได้จัดเครื่องบินพร้อมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์สนับสนุนกรมฝนหลวงและการบินเกษตร  ในโครงการพระราชดำริฝนหลวงจำนวน 3-5 เครื่อง  ประกอบด้วย

เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2   (BT-67) จำนวน 2-3 เครื่อง ในการปฏิบัติการฝนหลวงด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งรวมทั้งการเติมน้ำต้นทุนให้เขื่อนกักเก็บน้ำ

เครื่องบินโจมตีแบบที่ 7 (Alpha Jet) จำนวน 1-2 เครื่อง  ในการปฏิบัติการฝนหลวงด้านการยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ

รวมถึงให้ทุกสนามบินมีความพร้อมในการสนับสนุนและเป็นฐานปฏิบัติการฝนหลวง

ซึ่งในขั้นต้น กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ขอรับการสนับสนุนจำนวน 7 กองบินประกอบด้วย

กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา

กองบิน 2 จังหวัดลพบุรี เป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ภาคกลาง

กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้

กองบิน 21 จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ตอนล่าง)

  กองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี เป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ

กองบิน 46 จังหวัดพิษณุโลก เป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ (ตอนล่าง)

การปฏิบัติการฝนหลวงดังกล่าวเป็นการอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ การปฏิบัติภารกิจฝนหลวงเมฆอุ่น และการปฏิบัติภารกิจฝนหลวงด้วยพลุสารดูดความชื้นเสริมการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆอุ่น

การปฏิบัติการภารกิจ  ฝนหลวงเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ตามโครงการพระราชดำริฝนหลวงและเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ ทอ.20 ปี  (..2561-2580) (ฉบับปรับปรุง. 2563)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การช่วยเหลือประชาชนและบรรเทาสาธารณภัยกลยุทธ์ที่ 4.1 ปฏิบัติภารกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชนและบรรเทาสาธารณภัย  แนวทางการพัฒนาและดำรงขีดความสามารถ  เพื่อปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน  รวมทั้งสนับสนุนแก้ไขปัญหาของชาติที่สำคัญตามนโยบายของรัฐบาล

ทั้งนี้ด้วยพระมหา กรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช    บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรกรรม    จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งคณะปฏิบัติการ  ฝนหลวงขึ้น เพื่อค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทำฝน จนประสบผลสำเร็จนับแต่ปี 2512 เป็นต้นมา

 

การดำเนินการตามโครงการพระราชดําริฝนหลวง ได้กระทำอย่างต่อเนื่องและสามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พสกนิกร จนเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วกัน

การปฏิบัติภารกิจของหน่วยบินฝนหลวง      เป็นภารกิจที่มีความสำคัญภารกิจหนึ่ง ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับกองทัพอากาศ เพราะเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร             

กองทัพอากาศจึงได้ดำเนินการมาอย่าง      ต่อเนื่อง  เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนทั่วทุกภูมิภาค

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า