ศาสนา-ศิลปวัฒนธรรม

ภาคีเครือข่ายอินเดียเชื่อมสัมพันธ์องค์กรระดับนำให้คณะธรรมยาตราครั้งที่ 4

ผู้นำภาคีเครือข่ายอินเดีย นำโดยสมาพันธ์ชาวพุทธนานาชาติ หรือ IBC ประสานให้คณะธรรมยาตรา ครั้งที่ 4 ลุ่มน้ำโขงสู่มหานทีคงคา ประกาศศตวรรษแห่งธรรม ณ แดนพุทธภูมิ สาธารณรัฐอินเดีย เข้าพบบุคคลสำคัญและสถาบันคลังปัญญา หรือ Think Tank ระดับชั้นนำของอินเดีย

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชา

ลัย 980 กล่าวในการแถลงข่าวที่จัดโดย สมาพันธ์ชาวพุทธนานาชาติ หรือ IBC ที่วัดไทยพุทธคยา โดยย้อนถึงความสำเร็จของโครงการธรมยาตรา 5 ประเทศลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 1 และ 2 ในปี 2017 และ 2019 โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย โดยเฉพาะพิธีปิดโครงการธรรมยาตรา 5 แผ่นดินครั้งที่ 2 ได้รับพระบรมราชานุญาต ผ่านทางรัฐบาลกัมพูชาให้จัดพิธีปิดโครงการ ที่ปราสาทนครวัด ซึ่งเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ยังย้ำว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับถือศาสนาพุทธถึง 80-90 % และในการจัดโครงการธรรมยาตราครั้งที่ 3 ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดีย ในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ไปประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทยเพื่อต้องการขยายความร่วมมือไปยัง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออกในฐานะเลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ที่อุทิศตนทำงานด้านพุทธศาสนามากกว่า 18 ปี เห็นว่า ธรรมะคือกฎธรรมชาติที่สอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนั้นการจัดงานธรรมยาตราครั้งที่ 4 จึงเป็นการต่อยอดวิสัยทัศน์ ศตวรรษแห่งเอเชีย ของนายกรัฐมนตรีอินเดีย สู่การประกาศศตวรรษแห่งธรรม

ภาคีเครือข่ายของอินเดียที่สนับสนุนโครงการธรรมยาตราครั้งที่ 4 นำโดย เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธนานาชาติ หรือ IBC ยังได้นำคณะของสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เข้าพบกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และประสานการทำงานตามแนวทางของพุทธศาสนา

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยนาลันทา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนาลันทามีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยหลายแห่งของไทย เช่น มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยนาลันทาได้ทำงานใกล้ชิดกับ IBC มาโดยตลอด จึงต้องการขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านพุทธศาสนาให้กว้างขวางออกไป ตามวิสัยทัศน์ของ นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ที่ประกาศ ศตวรรษแห่งเอเชีย ใช้พุทธศาสนาเชื่อมโลก บนเวทีสหประชาชาติเมื่อปี 2015 และมหาวิทยาลัยนาลันทายังต้องการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและแลกเปลี่ยนนักศึกษากับไทย

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยนาลันทา และ เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธนานาชาติ หรือ IBC ยังได้นำคณะธรรมยาตรา ของสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยในปัจจุบันและมหาวิทยาลัยนาลันทา ที่เป็นพุทธสถานที่สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งหนึ่งในบุคคลสำคัญที่เดินทางมาศึกษาในยุคนั้น คือ พระถังซัมจั๋ง ผู้นำความรู้ทางพุทธศาสนา และปรัชญากลับไปยังประเทศจีน เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองอารยธรรม คือจีนและอินเดีย

บริเวณมหาวิทยาลัยนาลันทายังมีสถานที่สำคัญคือบ้านของพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ยังคงร่องรอยไว้เพียงสถูปให้ได้ระลึกถึงเมื่อครั้งพุทธกาล ปัจจุบันนาลันทาเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าของการศึกษาในยุคโบราณอินเดีย และองค์การยูเนสโก้ได้บูรณะ ฟื้นฟูในฐานะมรดกโลกในปี 2016

#ธรรมยาตราครั้งที่4 #ประกาศศตวรรษแห่งธรรม
#ลุ่มน้ำโขงสู่มหานทีคงคา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า