ประวัติคณะธรรมจาริก พระสงฆ์ผู้เสียสละ ทำงานเผยแผ่ และช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูง ในจังหวัดภาคเหนือ
พระราชเวที หรือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง)วัดปากน้ำฉายภาพ กับพระธรรมจาริกรุ่นแรกๆ
ตามที่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก(พ.ส.ล. ) และมหาวิทยาลัยพุทธโลก(ม.พ.ล.) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและเจ้าคณะภาค 7 นิมนต์คณะพระธรรมจาริก ในเขตปกครองภาค 7 มาปฏิบัติธรรม และเจริญจิตภาวนา เพื่อถวายพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระวขิรเกล้า เจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ณ วัดศรีโสดา ต.ดอยสุเทพ อ.เมืองจ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2566 นั้น
คุณพัลลภ พระลูกชาย (กลาง)และพระพรหมเสนาบดี กรรมการมหาเถรสมาคม
ทางคณะผู้จัดงาน นำโดย พระพรหมเสนาบดี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าภาค 7 เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา กทม. และ พัลลถ ไทยอารี ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยพุทธโลก (ม.พ.ล.) ได้สรุปความเป็นมาของคณะพระธรรมจาริก ว่า แรกเริ่ม พระธรรมจาริกนี้เกิดจากแนวคิดทั้งจากฝ่ายราชอาณาจักร และศาสนจักรที่จะนำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่แก่ชุมชนในถิ่นทุรกันดารหรือผู้อยู่อาศัยบนที่สูง เมื่อ พ.ศ. 2507 ทั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานแนวพระราชดำริ และวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ได้ดำเนินการ นิมนต์พระอาสาสมัคร 50 รูปให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นการนำร่อง ก่อน
คณะพระธรรมจาริกทั้งนั้น กระจายไปสร้างที่พำนักกับชุมชน เผ่าต่างๆ ส่วนมากเป็นชาวเขา ที่อยู่บนที่สูง ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แแม่ฮ่องสอน ตาก และเพชรบูรณ์
เมื่อเวลาผ่านไป ประเมินผลที่ได้รับจากการปฏิบัติงานของคณะพระธรรมจาริก ชุดนำร่อง เป็นที่พอใจกันทุกฝ่าย เมื่อชาวบ้านในชุมชนต่างๆ ที่เคยนับถือผี หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดั้งเดิม ได้หันมายอมรับพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งอีกส่วนหนึ่งของชีวิต ตอนแรกนั้นมีจำนวนถึง 500 คน จนกระทั่งมีศรัทธา ส่งบุตรเข้ามาขอบรรพชา อุปสมบท ถึง40 รูป ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี
ปัจจุบัน (พ.ศ.2566) มีพระคณะพระธรรมจาริก ที่มีจิตอาสา ประมาณ 300 รูปกระจายการปฏิบัติงานเพื่อเผยแผ่พุทธธรรม และช่วยเหลือชุมชนกว่า 279 แห่ง โดยช่วยในแบบต่าง ๆ เช่นช่วยวางแผนสร้างธนาคารพันธุ์ข้าว ปลูก ให้ชุมชนยืมไปเพาะพันธ์ปลูกในนาของตน ได้ผลผลิต แล้วส่งคืนเพื่อหมุนเวียนในฤาดูกาลต่อไป
นอกจากนั้นยังทำหน้าที่นักพัฒนา เหมือนนักพัฒนาชุมชน ช่วยชาวบ้านนานาประการเช่นสอนหนังสือและพัฒนอาชีพ
หรือนำชุมชน ปฏิญญาณตนเป็นพุทธมามกะ พร้อมทั้งอบรม ศีลธรรม และสอนให้เห็นประโยชน์แห่งความสามัคคี จนเกิดความสงบ สันติ ในชุมชนตามหลักพระพุทธศาสนา
พ.ส.ล.และ ม.พ.ล.ตระหนักถึงการเสียสละของพระธรรมจาริก จึงนิมนต์มาประชุม ที่วัดศรีโสดา ดอยสุเทพ เชียงใหม่
พร้อมทั้งนิมนต์พระเถระผู้มีสมณะคุณ มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้แก่ พระธรรมจาริก ในยุคที่โลกอยู่ในกระแสโซเชี่ยลมีเดีย พร้อมทั้งนิมนต์ปฏิบัติธรรม เจริญจิตภาวนา ถวายพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ด้วย
เรื่อง_ภาพ โดย—สมาน สุดโต—