ศาสนา-ศิลปวัฒนธรรม

กรมศิลปากรเดินหน้าอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร

วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ กันยายน ๒๕๖๕) เวลา ๑๐.๐๐ . นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณอธิบดี

กรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดและแถลงข่าวโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร กิจกรรมสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน จัดเก็บเอกสารโบราณ และกิจกรรมกรมศิลป์ร่วมมือคณะสงฆ์ร่วมใจ อนุรักษ์ สืบสาน อ่านแปล ใบลาน วัดเบญจมบพิตรเขตดุสิต กรุงเทพฯ

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เอกสารโบราณเป็นองค์ความรู้ที่บรรพชนได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์

อักษร ประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่หลากหลาย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ ตลอดจนสรรพวิทยาการด้านต่าง เช่น พงศาวดาร  ตำราเวชศาสตร์ ตำราไสยศาสตร์ ตำราโหราศาสตร์ และวรรณคดี อีกทั้งเป็นเครื่องแสดงอัตลักษณ์ของชุมชนได้เป็นอย่างดี การดูแลรักษาเอกสารโบราณ นอกจากจะต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการแล้ว สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ วัดและองค์กรท้องถิ่น ตลอดจนประชาชน จำเป็นต้องเห็นคุณค่าของเอกสารโบราณ และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา รวมเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร เป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาจากการดำเนิน

การโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย ซึ่งเป็นวัดต้นแบบในการอนุรักษ์ที่เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์กร กรมศิลปากรกับคณะสงฆ์ และประชาชน สร้างการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดภาคีเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชน คณะสงฆ์ตระหนักรู้ และสอดรับนโยบายอนุรักษ์ สืบสาน มรดกภูมิปัญญาของบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่น อีกทั้งมีผลโดยตรงต่อการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะเอกสารโบราณ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนที่เรียกว่าพระไตรปิฎก ดังนั้นองค์กรคณะสงฆ์จึงถือเป็นภาคีเครือข่ายอันดับแรกในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติอันสำคัญนี้

การดำเนินโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก

สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ระหว่างวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วยการแนะนำ สาธิตการ

อนุรักษ์ใบลานเบื้องต้น การอนุรักษ์ทำความสะอาดใบลาน อ่านปกใบลาน ตามหาชื่อเรื่อง ศึกษาฉบับใบลานสืบสาน

พวกพ้อง เปลี่ยนสายสนอง และการห่อผ้าคัมภีร์ใบลาน ซึ่งการดำเนินโครงการนอกจากจะสามารถสร้างการรับรู้และ

เกิดภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรแล้ว ยังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากพระวิหารสมเด็จ .. (เสาวภา

ผ่องศรี) วัดเบญจมบพิตร เป็นคลังปัญญาที่เก็บคัมภีร์ใบลานและตู้พระธรรมจำนวนมาก โครงการดังกล่าวจะทำให้ประชาชนเข้าถึงเอกสารโบราณได้ง่ายและใช้เอกสารโบราณอย่างถูกวิธี อันเกิดจากการจัดระบบตามหลักวิชาการ สร้างการรับรู้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ประชาชนให้ความสนใจ และมาใช้ประโยชน์จากการศึกษาค้นคว้าต่อยอดองค์ความรู้ในเอกสารโบราณได้เป็นอย่างดี

สำหรับ โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร  ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจากการดำเนินการโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย ซึ่งเป็นวัดต้นแบบในการอนุรักษ์ที่เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์กร กรมศิลปากรกับคณะสงฆ์ และประชาชน สร้างการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดภาคีเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชนและคณะสงฆ์ตระหนักรู้และสอดรับนโยบายอนุรักษ์ สืบสาน มรดกภูมิปัญญาของบรรพชน จากรุ่นสู่รุ่น อีกทั้งมีผลโดยตรงต่อการสืิบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะเอกสารโบราณส่วนใหญ่ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนที่เรียกว่าพระไตรปิฎก ดังนั้นองค์กรคณะสงฆ์จึงถือเป็นภาคีเครือข่ายในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติเป็นอันดับแรกในบรรดาภาคีเครือข่ายหลายๆ องค์กร

การเปิดโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร จึงเป็นก้าวต่อไปที่มั่นคงยิ่งขึ้นอันเกิดจากต้นแบบวัดไก่เตี้ยที่สามารถสร้างการรับรู้และเกิดภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรดังที่กล่าวแล้ว และสิ่งที่คาดว่าจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

. การทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงเอกสารโบราณได้อย่างง่ายและใช้เอกสารโบราณอย่างถูกวิธี อันเกิดจากการจัดระบบตามหลักวิชาการ และอาจให้บริการในแหล่งเอกสารโบราณได้โดยตรง เนื่องจากวัดเบญจมบพิตรมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระวิหารสมเด็จ ..(เสาวภา ผ่องศรี) และมีศักยภาพในการเป็นคลังปัญญาของผู้คน อันเป็นการสนองพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานนามพระวิหารสมเด็จฯ ไว้แต่แรกว่าหอพุทธสาสนสังคหะ

. คาดว่า มีคัมภีร์ใบลานฉบับหลวงที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ชนชั้นสูงในราชสำนักที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ซึ่งนิยมการสร้างคัมภีร์ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ถือเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและปรารถนาพระนิพพานในอนาคตกาล ตามคติความเชื่อของผู้คนในยุคสมัย

. เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติไทยจากเอกสารหลักฐานชั้นต้นได้อย่างตรงไปตรงมาและชัดเจนโดยลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะคัมภีร์ใบลานเป็นหลักฐานที่จารสืบต่อกันมา ถึงจะมีความคลาดเคลื่อนโดยกาลเวลา แต่เนื้อหามิได้เปลี่ยนแปลง เป็นที่คาดหวังว่าคัมภีร์ใบลานวัดเบญจมบพิตรจะเป็นคัมภีร์ที่ตกทอดมาอย่างสมบูรณ์ มีการชำรุดเสียหายเป็นส่วนน้อย เนื่องจากมีพระวิหารเป็นที่เก็บรักษาและได้รับการดูแลอยู่เนืองๆ

. จากการประเมินคาดว่ามีปริมาณคัมภีร์ใบลานอยู่ในพระวิหารสมเด็จ ..(เสาวภาผ่องศรี) ไม่ต่ำกว่า ๓๒๐ มัด มีตู้พระธรรมอยู่ ๒๙ ตู้ ส่วนที่ใส่คัมภีร์ใบลานไว้ในตู้พระธรรมมีประมาณ ตู้  ข้อมูลดังกล่าว อาจประเมินการดำเนินงานได้ว่า ปริมาณคัมภีร์ใบลานวัดเบญจมบพิตรมีมากกว่าคัมภีร์ฯ วัดไก่เตี้ย ถึง เท่า ถ้าเทียบการทำงานวัดไก่เตี้ยแล้วเสร็จ ใช้เวลา วัน ดังนั้นวัดเบญจมบพิตรจะใช้เวลาในการทำงาน คำนวณแบบคณิตศาสตร์ ต้องใช้เวลาถึง ๗๒ วัน จึงแล้วเสร็จ โดยมีกำลังพลในการทำงานเท่ากัน ทั้งนี้ยังไม่รวมอุปสรรคปัญหาหน้างาน และปัจจัยภายนอกอีกด้วย

. ท้ายที่สุดสร้างการรับรู้ให้ผู้คนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ประชาชนให้ความสนใจ และมาใช้ประโยชน์จากการศึกษาค้นคว้า ต่อยอด องค์ความรู้ในเอกสารโบราณ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด คือต้องการดูต้องได้ดู ต้องการใช้ต้องได้ใช้เพื่อความสุขใจของทุกๆ คน

โดย  อารามชรา

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า