ศาสนา-ศิลปวัฒนธรรม

*สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 มูลนิธิวีระภุชงค์ และ มจร ร่วมจัดพิธีบวงสรวงองค์พญานาคและทวยเทพ เนื่องในโอกาสงานสรุปโครงการวิจัย*

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 มูลนิธิวีระภุชงค์ และ มจรร่วมนำคณะกรรมกาเดินทางไปสักการะนาคบารมี และทำพิธีบวงสรวงองค์พญานาคและทวยเทพ เนื่องในโอกาสงานสรุปโครงการวิจัย เรื่องอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่ .มุกดาหาร นำโดย พระธรรมวรนายก ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 พระเมธีวรญาณ ..9 ผศ.ดร. ผู้อำนวยการแผน

รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

นอกจากนี้ยังมีผู้เดินทางมาร่วมงาน อาทิ พระธรรมโพธิวงศ์ วีรยุทธ วีรยุทฺโธ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ที่อินเดีย หัวหน้าธรรมทูต สายประเทศอินเดียเนปาลพระครูศรีปริยัติวิสุทธิ์ (หลวงพ่อโกวิท) เจ้าอาวาสวัดด่านใน .ด่านขุนทด .นครราชสีมา และ รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งข้าราชการสื่อมวลชน จาก ประเทศ สปป.ลาว นำคณะโดยท่านวิภาวัน ภรรยา ท่านไซสมพอน พมวิหาน ประธานสภาแห่งชาติ ท่านบุญทะวีพรทะสิน รองหัวหน้ากลมศาสนาศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ท่านจันท์ทะลา ขันทะลังสี หัวหน้าแผนกศาสนาพุทธศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาตินครหลวงเวียงจันทน์ รองหัวหน้าคณะ

ท่าน นางสิลิวัน ปัดถำมะวงด์ คณะที่ปลืกสาเวียกงานศาสนา ท่านนางจันท์มะนี ราลาชิมา ผู้ช่วยคณะที่ปลืกสาศาสนา ท่านนางสานิดา ย่าจีท่อ นักวิชาการกลมศาสนาศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาตินครหลวงเวียงจันทน์ ท่าน นางวันนา แก้วอุดม นักวิชาการกลมโฆษณา ศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาตินครหลวงเวียงจันทน์ ท่านบุญทะลังเพ็ด อามาธิทาดา พนักงานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาตินครหลวงเวียงจันทน์ ท่านเย้ ย่า นักวิชาการกลมโฆษณาศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาตินครหลวงเวียงจันทน์

ท่านแก้ว มะนีวอน ตารละมะนี รองประธานผู้ชี้นำเวียกงานศาสนา แขวงสะหวันนะเขตท่านไข่ฟ้า ชุมพลพักดี หัวหน้าขแหนงศาสนาแนวลาวแขวงสะหวันนะเขต

พระอาจานคำวัน วอระเดด รองกำมาธิการพระ พระอาจานดาวเรือง คำประเสริฐ พระพวงประเสริฐ พูมาวงด์ คณะประจำ ศูนกลาง

พระอาจานเอ็ง ผู้ช่วยพระพวงประเสริฐ พูมาวงด์ คุณหมอ อานันท์ อินทะวงด์ ที่ปรึกษาสถาบันโพธิคยาฯ

ส่วนด้านฝ่ายไทย มี นายชัช  ชลวร ประธานชมรมโพธิคยาฯ (โพธิคยาวิชชาลัย เป็นสถาบันและมีชมรมด้วย) ดร.อภัย จุนทนจุลกะ ที่ปรึกษาสถาบันโพธิคยาฯ

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการฯ นายเกษม มูลจันทร์ รองเลขาธิการฯ นายสุรพล มณีวงศ์ รองเลขาธิการ ดร.อัจฉราวดี แมนชาติ ผู้ช่วยเลขาธิการฯ นางสาวทิพย์วรรณวีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุชงค์ และ ..อันนา สุขสุกรี ผู้ช่วยเลขาธิการฯ

ทั้งนี้ ก่อนพิธีบวงสรวงคณะได้เดินไปสะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 2 .บางทรายใหญ่ .เมือง .มุกดาหาร เพื่อสักการะ ศาลพ่อปู่พญานาคอนันตนาคราช และรูปปั้นพญานาคขนาดใหญ่ที่จุดชมวิวสะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 2

จากนั้นออกเดินทางสู่แก่งกะเบา .โป่งขาม .หว้านใหญ่ .มุกดาหาร สักการะบูชาองค์พญาศรีภุชงค์มุกดานาคราช องค์พญานาคสีขาวหมอกประดับด้วยเกล็ดหินอ่อน

ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงริมแก่งกะเบา เป็นแลนด์มาร์ค แห่งความศรัทธา ที่เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ประชาชน นิยมมาขอพร ลอดท้องพญานาค 3 ซุ้ม หมายถึง สุขภาพแข็งแรง ร่ำรวย และความสำเร็จสัมฤทธิ์ผล

ต่อจากนั้นเดินทางไปยังวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ .นาสีนวน .เมือ .มุกดาหาร  สักการะพระพุทธมิ่งมงคลมุณีศรีมุกดาหาร รอยพระพุทธบาทจำลอง และองค์พญาศรีมุกดามหามุนีนีลปาลนาคราช

และเข้าร่วมพิธีบวงสรวง มณฑลพิธีลานปู่ศรีมุกดา

พระสงฆ์สมณศักดิ์ 19 รูป ขึ้นสู่อาสน์สงฆ์ ศาสนพิธีกรเชิญ

นายอภัย จุนทนจุลกะ ที่ปรึกษาสถาบันโพธิคยาฯ ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 กล่าวรายงาน

ขณะที่ นายบุญเรือง เมฆฉิม รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร กล่าวต้อนรับ

จากนั้น ศาสนพิธีกรนำอาราธนาศีล พระสงฆ์ให้ศีล

ศาสนาพิธีกรนำอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์สมณศักดิ์ 19 รูป เจริญพระพุทธมนต์ศาสนาพิธีกรนำกล่าวถวายสังฆทาน ประธานฝ่ายคฤหัสถ์ และแขกผู้เกียรติถวายเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานฝ่ายคฤหัสถ์และแขกผู้มีเกียรติกรวดน้ำรับพร

ต่อมา เป็นพิธีบวงสรวงองค์พญานาคและทวยเทพลุ่มน้ำโขง ศาสนพิธีกรเชิญเลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ขึ้นกล่าว

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980ประกาศเกียรติคุณความดีพญานาคผู้บำเพ็ญธรรมและปกป้อง

พระพุทธศาสนา พระเมธีวรญาณ ..9 ผศ.ดร. ผู้อำนวยการแผน รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพุทธศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวถึงอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนา พระธรรมโพธิวงศ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย๙๘๐ หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดียเนปาล กล่าว

สัมโมทนียกถา พราหมณ์อ่านโองการบวงสรวงองค์พญานาคและทวยเทพลุ่มน้ำโขง

จากนั้น ประธานฝ่ายคฤหัสถ์และแขกผู้มีเกียรติปักธูปและโปรยข้าวตอกดอกไม้

เครื่องบวงสรวง เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ลั่นฆ้องชัย

ชมการแสดง ชุดรำถวายองค์พญานาค ทวยเทพ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ต่อด้วยพิธีเจริญจิตภาวนา

ประธานฝ่ายคฤหัสถ์จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

พระธรรมวรนายก ประธานโครงการส่งเสริมพระสงฆ์ไปศึกษาและ

ปฏิบัติธรรมเชิงลึก แดนพุทธภูมิ อินเดียเนปาล ที่ปรึกษาเจ้าคณะ

ภาค 11 และเจ้าอาวาสวัดพระนารายมหาราชวรวิหาร .เมือง .นครราชสีมา

นำเจริญพระพุทธมนต์ บทสมยสูตร และบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เจริญจิตภาวนา แผ่อุทิศกุศลแด่องค์พญานาคและทวยเทพลุ่มน้ำโขง

จากนั้น เป็นคำประกาศเกียรติคุณพญานาคผู้บำเพ็ญธรรมและพิทักษ์พระพุทธศาสนาโดย ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980

จากศรัทธาความเชื่อเรื่องพญานาคของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขงที่มีมาตั้งแต่บรรพกาลผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน ทำให้มีวัฒนธรรมประเพณี การดำเนินวิถีชีวิต มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องพญานาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุผลและความสำคัญดังกล่าวจึงทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ มูลนิธิวีระภุชงค์ และคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในการศึกษาวิจัยเรื่องอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพทธศาสนาในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงผลของการศึกษาวิจัยทำให้ได้ทราบถึงสถานะและบทบาทของพญานาค ดังนี้

พุทธบริษัททั้งหลายผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐและที่พึ่งอันสูงสุด เชื่อในความมีอยู่จริงของพญานาคผู้มีฤทธิ์นั้นอย่างปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย ตามหลักฐานที่มีปรากฏอยู่ในพระพุทธศาสนา และจากคำสอนของพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คุณความดีขององค์พญานาคทั้งหลายที่บำเพ็ญบารมีไว้ดีแล้ว ได้ปรากฏให้เห็นและรับรู้เป็นเรื่องราวมาเป็นเวลายาวนานกว่า2,600 ปี และได้มีบันทึกไว้ในในคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นจำนวนมาก ดังจะได้นำมาสาธกเป็นตัวอย่าง ดังนี้

    เหตุการณ์ของพญากาฬนาคราช เกิดขึ้นในสมัยที่พระมหาบุรุษ ทรงได้รับการถวายข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดาเมื่อพระองค์เสวยพระกระยาหารแล้ว ทรงลอยถาดทองคำและทรงตั้งจิตอธิษฐานที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราว่า หากพระองค์จะได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้ถาดนี้ลอยทวนกระแสน้ำ และได้เป็นตามคำอธิษฐาน ถาดจมลงไปกระทบกับถาดทองคำของพระพุทธเจ้าในอดีตอีก 3 พระองค์ พญากาฬนาคราช ที่บรรทมอยู่ใต้แม่น้ำเนรัญชราได้ยินเสียงนั้น ทรงรู้ทันทีว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นแล้วอีก 1 พระองค์ในภัทรกัปนี้

 เหตุการณ์ของพญานาคมุจลินท์นาคราช ภายหลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ได้เสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ 6 ภายใต้ต้นมุจลินท์ เกิดมีฝนเจือลมตลอดทั้งสัปดาห์พญานาคมุจลินท์นาคราชได้เอาลำตัวขนดรอบพระวรกาย และแผ่พังพานบนพระเศียรของพระพุทธองค์ เพื่อป้องกันมิให้แดดลมและฝนกระทบพระวรกาย และป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายทั้งปวงตลอด 7 วัน เมื่อฝนขาดหายแล้ว พญานาคก็คลายขนดจำแลงกายเป็นมานพเข้าไปถวายอัญชลีพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ได้ทรงเปล่งพระอุทานว่าความสงัดเป็นสุขสำหรับผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความเป็นจริง ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความปราศจากความกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลกการนำความถือตัวออกไปให้หมดเป็นสุขอย่างยิ่ง

ปัจจุบันพญานาคได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพที่คอยปกปักรักษาพระพุทธศาสนา ดูแลทุกข์สุข ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และคอยอำนวยผลเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร และดลบันดาลให้เกิดความสำเร็จในสิ่งที่พึงปรารถนาดังเช่น

องค์พญาศรีสุทโธนาคราช เป็นกษัตริย์พญานาคฝั่งไทย ชอบจำศีลบำเพ็ญเพียรและปฏิบัติธรรม มีนิสัยอ่อนโยนมีเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้

องค์พญาศรีสัตตนาคราช เป็นหนึ่งในพญานาคผู้มีฤทธิ์ ทรงศักดาอานุภาพ ปรากฏพบในตำนานอุรังคธาตุว่า พระศาสดาก็เสด็จไปสู่ดอยนันทกังรี ซึ่งเป็นที่อยู่ของนันทยักษ์แต่ก่อน มีนาคตัวหนึ่ง 7 เศียร ชื่อว่าศรีสัตตนาค เข้ามาทูลขอให้พระศาสดาทรงย่ำรอยพระบาทไว้ ที่นั้น ต่อมาสถานที่แห่งนั้นเกิดเป็นเมืองชื่อศรีสัตตนาค

องค์สัตตนาคาพญานาคราช ผู้ปกปักรักษาพระอุรังคธาตุ พระบรมธาตุส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้าที่องค์พระธาตุพนม

องค์พญาภุชงค์นาคราชเจ้า มีฤทธิ์ วิชาเวทย์ บำเพ็ญตบะเป็นฤๅษี เป็นพญานาคเพียงองค์เดียวที่อาศัยอยู่ชั้นพรหมได้ มีความรักความเมตตา ความรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปกครองอยู่น่านน้ำอ่าวไทย ทะเลอันดามัน และอยู่ตามถ้ำต่าง ทั่วประเทศ

กล่าวโดยสรุป พญานาคมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ที่ดำรงอยู่คู่กับสังคมชาวพุทธมาอย่างยาวนาน ทั้งในแง่การนำพามาซึ่งการเจริญทางพุทธิปัญญา และด้านการสร้างศรัทธาให้เกิดพลัง เรื่องราวของพญานาคมีปรากฏให้เห็นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์ได้นำมาพัฒนาต่อยอดเป็นงานศิลปวัฒนธรรมแขนงต่าง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านวรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม รวมถึงเรื่องเล่าในลักษณะตำนานพื้นบ้านและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีการสืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

     ศรัทธาบารมีแห่งองค์พญานาคที่ได้บำเพ็ญสั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน และคุณูปการอันยิ่งใหญ่ทั้งหลายเหล่านี้จะยังคงปรากฏอยู่ในความทรงจำของพุทธบริษัททั้งหลายอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย เราท่านทั้งหลายจึงขอประกาศเกียรติคุณเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูบูชาสักการะพญานาคทั้งหลายให้ดำรงคงอยู่เพื่อธำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไปตราบนานเท่านาน ชั่วกัลปาวสานตลอดกาลเป็นนิตย์ เทอญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า