สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ ร่วมกับมูลนิธิ วีระภุชงค์ มจร จัด แถลงข่าว “อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาค สู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม”
โดยมีพระเมธีวรญาณ ป.ธ.๙ ผศ.ดร. ผู้อำนวยการแผนรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ดร.วินัย วีระภุชงค์ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐ประธานมูลนิธิวีระภุชงค์ เป็นประธานเปิดงานและผู้ร่วมแถลวงข่าว อาทิ
พระเมธีวรญาณ ป.ธ.๙ ผศ.ดร. ผู้อำนวยการแผน
รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
“อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาค“
พระมหายุทธนา นรเชฎโฐ ป.ธ.๙ ผศ.ดร. หัวหน้าชุดโครงการ : ประเทศไทย
ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปีฎกศึกษา
ภาควิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
“อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทย”
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย ๙๘๐
“ศรัทธาพญานาค สู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม“
นางสาวทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุษงค์
“การสนับสนุนการทำงานวิจัยของมูลนิธิวีระภุษงค์
นางสาวทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุษงค์
“การสนับสนุนการทำงานวิจัยของมูลนิธิวีระภุษงค์
รองศาสตราจารย์.ดร.ณัทธิร์ ศรีดี ผู้อำนวยการแผน
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
“แผนการศึกษาวิจัยอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคเกี่ยวกับพระพุทธ
ศาสนาในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำโขง (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย เวียดนาม)”
นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
พระเมธีวรญาณ ผู้อำนวยการแผน รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กล่าวถึง “อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาค” ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการธรรมยาตรา 2 ครั้ง ความเชื่อเรื่องพญานาคเกิดขึ้นเป็นเวลานานก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนา เป็นเหมือนเทพเจ้าปกปักรักษาดูแลธรรมชาติเพื่อการดำรงชีพ โดยเฉพาะในลุ่มแม่น้ำโขง ความเชื่อชัดเจนสามารถสัมผัสได้ ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเป็นสัญญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ จะมีพญานาคเป็นผู้เฝ้าดูแลปกปักรักษาธรรมชาติ เพราะฉะนั้นจึงมีความผูกพันกับสังคมไทย และประเทศลุ่มแม่น้ำโขงยาวนาน โดยเฉพาะการทำเกษตรกรรม เชื่อมีพญานาคอาศัยเบื้องล่างให้การเพาะปลูกได้ผลสมบูรณ์ รักษาแม่น้ำให้มีน้ำใช้ในทุกฤดูกาล ด้วยเหตุดังกล่าว เรามีความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีความผูกพันกับคนในสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นที่มาของการวิจัย ความเชื่อและศรัทธาในพระศาสนาจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต เพราะมีศรัทธา ความเชื่อมั่น
ตามหลักพระพุทธศาสนาเราแยกความเป็นพญานาคได้หลายมิติ เช่นสื่อสัญญลักษร์การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของบุคคลแต่ละกลุ่มให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
ชมพูทวีป กลุ่มอารยันที่มาจากแม่น้ำสินธุก็มีความเชื่อเรื่องพญานาค งูใหญ่ ทางตอนเหนือของชมพูทวีป ชนพื้นถิ่นนับถืองูเป็นเทพเจ้า เมื่ออยู่ร่วมกันจึงพัฒนาพญานาคเป็นจุดร่วมกัน ผสมผสานจนชมพูทวีปอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สังคม แม้กระทั่งผู้ปกครองที่อยู่บ้านเมือง ก็อยู่ร่วมกันได้โดยอาศัยพญานาค นาคระ แปลว่าชาวเมือง ที่เชื่อมคนในสังคมให้อยู่ร่วมอย่างมีความสุข
พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขสัปดาห์ที่ 6 ณ สระมุจรินทร์ พญานาคก็มาปกปักรักษาพระพุทธองค์ เมื่อคนนับถือพระพุทธศาสนาก็มีศรัทธา เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
การบวชนาค ก็อาศัยมาเป็นตัวเชื่อมสายใยความสัมพันธืของคนธรรมดาเข้าสู่พระพุทธศาสนา หรือ เป็นความเชื่อมระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ และยังเป็นสัญลักษณ์ของการไม่เบียดเบียนกัน รักความสงบ ให้เกิดสันติสุข เมื่อนาคแปลงเป็นมานพพระพุทธเจ้าตรัส ความสงบในธรรม ความวิเวก ไม่เบียดเบียนคนอื่น เป็นความสุขในโลก คล้ายพระพุทธเจ้าแสดงความระหว่างคนกับพญานาคสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมนุษย์ไม่สามารถต่อกรกับพญานาคได้ แต่พระพุทธศาสนา คนสัตว์ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เป็นมรดกธรรมทางพระพุทธศาสนา
ประเทศไทยก็รับมรดกนี้มาจากพระพุทธศาสนา มีตำนานพระเจ้าเรียกโลก พระอุรังคธาตุ บ้าง นี่คือมรดกที่ได้มาจากพระพุทธศาสนา จึงทำให้ความเชื่อเรื่องนี้ปรับสภาพนาคเป็นพญานาคและมีชื่อบาลีปรากฎในปัจจุบัน เป็นสัญลักษณ์เปรียบเสมือนประตูสู่ภูมิปัญญา และศรัทธาที่นำไปสู่ภูมิปัญญาได้ ฉะนั้นเป็นบันไดก้าวไปสู่ภูมิปัญญา คือศรัทธาก้าวไปสู่ปัญญาให้ได้ ไม่ได้เน้นการทรงเจ้าเข้าผี แต่ต้องสัมผัสและเข้าถึงได้ด้วยศรัทธาและปัญญา มำให้มองเห็นวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับพญานาค เช่นการแต่งกาย เสื้อผ้า เราจึงสามารถนำไปต่อยอดเพื่อนำไปพัฒนาด้านอื่นๆ เช่นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม เช่น การเดินทางไปคำชะโนด ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นจากการเดินทางไป สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาสอดรับกับแนวคิดเรื่องธรรมยาตรา และพญานาคเป็นที่มาของงานวิจัย
พระมหายุทธนา กล่าวว่าหัวหน้าชุดโครงการ : ประเทศไทย ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา ภาควิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กล่าวถึง “อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทย” ว่า บทสรุปสำหรับผู้บริหาร งานวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2563-2565 โดยศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องพระพุทธศาสนา พญานาค และความเชื่อเรื่องพรญานาคในพระพุทธศาสนาของสังคมไทย โดรวบรวมจากพระไตรปิฎก งานวิชาการ แนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ส่วนภาคสนาม ใช้วิธีการสังเกตุแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในแต่ละท้องถิ่นที่เป็นกิจกรรม การสัมภาษณ์ตามแนวคำถามและแบบอิสระ ประกอบด้วย พระสงฆ์ นักวิชาการ ผู้นำชาวบ้าน พบว่า ความเชื่อเรื่องพญานาคตามบริบทไทย ผสมผสานระหว่างความเชื่อต่อสัตว์ตามธรรมชาติ การนับถือผี การนับถือบาดาลแบบพรามห์ ความเชื่อและความยำเกรงพญานาคในลุ่มน้ำโขง ชัดเจนยาวนาน ถึง 2500 ปี แล้ว จากบั้งไฟพญานาค และมีเรื่องเล่า ตำนาน ในฐานะผู้เป็นใหญ่ใต้บาดาล ซึ่งอิทธิพลความเชื่อในแต่ละด้านที่ทำการวิจัย สะท้อนความมีอยู่จริงจนกล่ายเป็นอัตลักษณ์ หรือสัญลักษณ์ความเชื่อของสังคมไทย และชาวพุทธในลุ่มแม่น้ำโขง โดยอาศัยพญานาคเป็นสื่อกลาง
ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการสถาบันฯ กล่าวในหัวข้อ “ศรัทธาพญานาค สู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” กล่าวถึง ที่มาของสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ต่อเนื่องจนการจัดกิจกรรม “พุทธพลิกสุวรรณภูมิ” และต่อเนื่องไปจนถึง ดำริของหลวงปู่ พระมหาผ่อง สะมาเลิก ประธานสงฆ์ สปป.ลาว เป็นที่มาของการจัดธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของรัฐบาลลาว และเวียดนาม ซึ่งได้จัดโครงการธรรมยาตรา 2 ครั้ง แสดงให้เห็นของศรัทธาของชาวพุทธลุ่มแม่น้ำโขง และสมเด็จฮุนเซ็น ได้อนุญาตให้ปิดโครงการในประเทศกัมพูชา ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกัมพูชา ที่ให้จัดบวงสรวงและปิดโครงการ ณ นครวัด ถือเป็นก้าวของกองทัพธรรมอีกครั้งหนึ่งในกึ่งพุทธการ ในการแก้ปัญหาที่ใจของคนคืออริยสัจ 4
จากนั้นได้พูดคุยกับพระเมธีวรญาณ ถึงทุกวัดที่ได้ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในทุกประเทศ เราต้องการสร้างแรงกระเพื่อมการปลูกฝังศาสนาพุทธในลุ่มน้ำโขง จึงมีการพูดถึงพญานาคที่มีสัญลักษณ์ในทุกวัด จึงวิจัยเรื่องพญานาคให้อยู่ในกรอบของแก่นธรรม เป็นที่มาของการวิจัยเรื่องพญานาค โดยมีเป้าหมาย อยากเห็นความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีบทบาทต่อชาวพุทธลุ่มแม่น้ำโขง ยกพญานาคให้เห็นถึงความเชื่อในพญานาคทุกองค์ ที่ได้เป็นพญานาคที่ปกป้องธรรม เผยแผ่ธรรม ใน 5 ชาติ และต้องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางภูมิปัญญาธรรมของแผ่นดิน และวันนี้จบก้าวแรกที่ประเทศไทย แล้วจะไปที่ สปป.ลาว เวียดนาม กัมพูชา ต่อไป
นางสาวทิพย์วรรณ วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุชงค์ กล่าวถึง “การสนับสนุนการทำงานวิจัยของมูลนิธิวีระภุงค์” ว่า มูลนิธิปลื้มปิติและยินดีที่มีโอกาสสนับสนุนงานที่มีคุณค่า และปกปป้องพระพุทธศาสนา และส่งเสริมคุณธรรมให้กับคนในสังคม ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการวิจัยหัวข้อ … อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย” ที่จะลงพื้นที่ศึกษาวิจัยต่อไปในประเทศ ลาว เวียดนาม กัมพูชาต่อไป จนสามารถผลักดันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมต่อไป
นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึง“อิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาค การขอขึ้นทะเบียนองค์การยูเนสโก สู่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” ว่า มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คือความรู้ การแดงออกผ่านบุคคลกลุ่มบุคคล หรือ ชุมชนยอมรับ สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นความเชื่อเรื่องพญานาคควรพิจารณาว่าเรื่องพญานาคถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติ ดำเนินชีวิตจริงจนกลายเป็นประเพณี พิธีกรรม เช่น การทำขวัญนาค เห่เรือ เป็นเครื่องมือควบคุม ขัดเกลาทางสังคมเช่นตำนานคำชะโนด แล้วทำอย่างไรให้มากกว่าความเชื่อ เพื่อขึ้นบัญชีมรดกโลก เราสามารถผลักดันต่อ ขึ้นภูมิปัญญาระดับชาติต่อไป และเป็นการทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันมรดกภูมิปัญหาที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาลุ่มน้ำโขง ให้เมืองพุทธเป็นที่ยอมรับของทั้งโลก ให้เกิดความยั่งยืนต่อไปสู่ความสำเร็จในอนาคต
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัทธีร์ ศรีดี ผู้อำนวยการแผน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กล่าวถึง “แผนการศึกษาวิจัยอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาค เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำโขง(กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย เวียดนาม) ว่า ช่วงปิดประเทศจากโควิดเป็นอุปสรรคในการทำงานวิจัยชิ้นนี้ร่วมกับต่างประเทศ แต่ในเมืองไทยยังคงทำงานต่อไป ในส่วน 5 ประเทศนั้น อิทธิพลเรื่องพญานาคเหมือนกัน คือ คำว่า นาค หรือ นาคะ ปรากฎในแต่ละประเทศ ในภาษาและวัฒนธรรม เช่น ทราบจากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นจากนักศีกษาชาวพม่า นาคจึงปรากฎในฐานะที่เป็นสัตว์ แต่ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา นาคที่ปรากฎในแต่ละประเทศใน CLMVT คือสัตว์ประเสริฐ หรือปรากฎในเชิงคุณธรรม ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์
ในลุ่มน้ำโขงปรากฎมิติใน 2 กรณี คือ สัตว์ประเสริฐ และมิติเชิงคุณภาพหรือคุณธรรมที่เกี่ยวกับมนุษย์โดยตรง 5 ประเทศในลักษณะความเชื่อจะได้ 5 ลักษณะใหญ่ร่วมกัน คือความเชื่อเป็นต้นทุนเดิมอยู่แล้ว ในฐานะที่เป็นงู หรืองูศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละพื้นที่ ที่เหนือธรรมชาติ ทั้ง ไทย พม่า กัมพูชา ลาว ที่มีความเชื่อดั้งเดิมเป็นทุน และมีศาสนาเข้ามาผนวก คือ ศาสนาพราหมณ์ ก่อน ที่มีพญานาคปรากฎ และมีคัมภีร์ ที่ปรากฎคำว่านาคเช่นคัมภีร์กูลานะ ลักษณะพญานาคอาจเป็นสีเขียว ดำ สีรุ้ง หรือมีเศียร 3 หรือ 5 หรือ 7 เศียร แล้วแต่ระดับของพญานาค
ในความเชื่อมิติที่ 3 หลังมีความเชื่อดั้งเดิม และพราหมณ์ ก็มีเรื่องศาสนาพุทธเข้ามาหลายจังหวัดในไทย รู้จักพญานาคแต่อาจไม่เข้าใจ คือมีความเชื่อของศรัทธาอย่างเดียวแต่ขาดศรัทธาเข้าไปกำกับ นี่คือลักษณะความเชื่อของกลุ่มแม่น้ำโขง 5 ประเทศ
พญานาคที่ปรากฎแต่ะประเทศมีอุปนิสัยเหมือนกันหรือไม่ ถ้าเป็นพุทธ จะมี 2 ด้าน เช่นดุร้าย กรณีเช่น ชฎิล 3 พี่น้อง ,ในมิติพราหมณ์ ก็เป็นนาคใจดี ในมิติทางพุทธศาสนาที่ปรากฎในคัมภีร์ จะเป็นมิตรต่อพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชน ปรากฎครั้งแรกชื่อ กาฬนาคราช จากนั้น เป็นนาคมุจรินทร์ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นมิตรกับมนุษย์
พญานาค มีสีแตกต่างกัน เป็นประเภทเดียวกันหรือไม่ เมื่อศึกษา มี 4 ตระกูลใหญ่ ในกลุ่ม5 ประเทศลุ่มน้ำโขง เช่น ประเภทเป็นสีทอง คือตระกูลวิรุฬปัก เป็นเจ้าของพญานาคที่ใหญ่กว่าตระกูลทั้งปวง
พญานาคที่วิจัย คือพญานาคที่อยู่ในสายน้ำ แล้วยึดโยงความเชื่อกับพระพุทธศาสนาเป็นพญานาคที่มีคุณธรรม มีคุณและปกป้องลุ่มแม่น้ำโขง
ช่วงคำถามสื่อมวลชน
1.ตัวแทนมหามกุฎราชวิทยาลัย ถามว่า เกี่ยวกับพญานาคจะเชื่อโยงกับมังกรได้มั้ยเพราะมีความเกี่ยวข้องกับการใช้น้ำ
พระอ.สายเพชร ตอบ….เรื่องมังกรกับพญานาคมีแนวคิดมาจากฐานเดียวกันเหมือนับพระพุทธศาสนา ที่มีสายเถรวาท สายมหายาน ความเชื่อเรื่องนาคจึงมาทางพระพุทธศาสนา แต่ไปทางเหนือของอินเดีย จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เชื่อว่าพญานาคก็คือ มังกร ซึ่งก็มีความหมายหลายอย่าง นาคหมายถึงพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระราชาหมากษัตริย์หรือประชาชนในถิ่นนั้น ก็มีความสอดคล้องกับมังกร ที่เป็นสัญลักษณะของผู้ปกครอง ผู้เป็นใหญ่ ซึ่งในเวียดนามทางตอนเหนือก็มีความเชื่อ รับมาจากประเทศจีน และมาสอดรับกับคำสอนในพระพุทธศาสนา ความเชื่อระหว่างมังกร กับพญานาคจึงไม่แตกต่างกันเช่น บึงโขงหลง หมายถึงบึงของมังกร หรือ บึงของพญานาค