ศาสนา-ศิลปวัฒนธรรม

การประกอบคืนบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น ในโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย ณ พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

กรมศิลปากรประกอบคืนบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นเป็นปฐมฤกษ์ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธานในพิธีเจริญชัยมงคลคาถา เพื่อเป็น

ปฐมฤกษ์ในการประกอบคืนบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น ในโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕

ความร่วมมือนับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมให้เกิดสัมฤทธิผล

อย่างยั่งยืนในปัจจุบัน ทั้งแง่มุมการรักษาอันเป็นภารกิจของกรมศิลปากรเอง ความร่วมมือทางวิชาการจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ การให้ความสำคัญร่วมทำหน้าที่ปกป้องของวัดอันเป็นที่ตั้งของมรดกศิลปวัฒนธรรมนั้น  ตลอดจนแรงสนับสนุนด้วยความศรัทธาเห็นคุณค่าจากภาคเอกชนอธิบดีกรมศิลปากรกล่าวหลังเป็นประธานในพิธีเจริญชัยมงคลคาถา นำโดยพระพรหมวัชราจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺโก) พร้อมด้วย Mr. Shigeki Kobayashi

ที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย คุณมุกดา จิราธิวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุลและคุณจุฬาลักษณ์

ปิยะสมบัติกุล เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการประกอบคืนบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น ภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

นับตั้งแต่ .. ๒๕๕๘ กรมศิลปากรร่วมกับสถาบันวิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงโตเกียว

ประเทศญี่ปุ่น และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม นำโดยพระวชิรธรรมเมธี ศึกษาแผ่นไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นบนบานประตูและหน้าต่างภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งสั่งนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อประดับพระวิหารเมื่อ .. ๒๔๐๘ เพื่อหาวิธีการอนุรักษ์ซ่อมแซมที่ถูกต้องตามเทคนิควิธีงานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาคเอกชน ได้แก่ คุณมุกดา จิราธิวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล และคุณจุฬาลักษณ์ ปิยะสมบัติกุล กระทั่ง .. ๒๕๖๔ กรมศิลปากรจึงจัดสรรงบประมาณโครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทยแก่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ เพื่อเริ่มดำเนินการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นภายในพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จำนวน ๗๖ แผ่น และบานไม้ประดับรักลายนูน จำนวน ๓๘ แผ่น ร่วมกับสำนักช่างสิบหมู่ และการให้คำปรึกษาด้านเทคนิควิทยาจากMs.Yoko Futakami และ Mr.Yoshihiko Yamashita ผู้เชี่ยวชาญแห่งสถาบัน

วิจัยมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น กำหนดดำเนินงานระหว่าง .. ๒๕๖๔๒๕๖๘

การดำเนินงานหนึ่งปีที่ผ่านมาของโครงการ มีผลสัมฤทธิ์ในส่วนขององค์ความรู้เรื่ององค์ประกอบงานลงรักประดับมุก นำไปสู่การอนุรักษ์ซ่อมแซมแผ่นประดับมุกบานหน้าต่างด้วยวัสดุดั้งเดิมจำนวน คู่ ที่ได้นำมาประกอบคืนบานหน้าต่างเป็นปฐมฤกษ์พร้อมทำพิธีเจริญชัยมงคลคาถา เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน เป็นสิริมงคลแก่ทุกภาคส่วนที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตลอดมา

 อธิบดีกรมศิลปากร ได้กล่าวอีกว่า กรมศิลปากรมุ่งหวังให้โครงการอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทยนี้ เป็นต้นแบบของการดำเนินงานอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

ที่ประกอบด้วยกระบวนงานศึกษาเทคนิควิทยาการอนุรักษ์อย่างรอบคอบ การบันทึกองค์ความรู้วิธีการอนุรักษ์เพื่อเป็นจดหมายเหตุสำหรับอนาคต  และการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ในสังคม มาร่วมดำเนินงานกับกรมศิลปากร ทั้งวัด สถาบันวิจัย ตลอดจนภาคเอกชน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า