พัฒนาการยโสธร นำลงพื้นที่คัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น บ้านหนองลาดควาย
ต.ดู่ลาด อ.ทรายมูล โดยยกการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในหมู่บ้าน
นางสาวพุทธิมาลย์ เชียรพิมายพัฒนาการจังหวัดยโสธร นำคณะกรรมการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัดยโสธรประจำปี 2565 ลงพื้นที่บ้านหนองลาดควาย ม.3 ตำบลดู่ลาด อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เพื่อคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัดยโสธร ประจำปี 2565 ใน 4 ประเภท เช่น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่น /ผู้นำอาสาพัฒนาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) ชาย,หญิง ดีเด่น/กลุ่ม,องค์กร ชุมชนแกนหลัก สำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน ดีเด่นและตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดีเลิศระดับจังหวัด โดยมีผู้แทนนายอำเภอทรายมูล หัวหน้าส่วนราชการผู้นำท้องที่ ท้องถิ่นและชาวบ้านหนองลาดควาย เข้าร่วมการคัดสรร
การประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่น ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 บ้านหนองลาดควาย นำเสนอความสำเร็จของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เช่นการดำเนินโครงการดำนาเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้โรงเรียนโครงการธนาคารสัตว์น้ำ การบริหารจัดการขยะในชุมชน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การปรับเปลี่ยนความเชื่อของชาวบ้านสู่แนวความคิดให้สอดคล้องกับสถานการณ์สมัยใหม่ ซึ่งมีประชากร 162 คน ในปี2564 มีรายได้เฉลี่ย 70,916.-บาท/คน และรายจ่ายเฉลี่ย 31,709.-บาท/คน
ผู้นำอาสาพัฒนาพัฒนาชุมชน (ผู้นำอช.)หญิง นางสาววีรดา อกอุ่น และอช.ชาย นายพันสา ทองเฟื่อง นำเสนอผลการดำเนินงานที่สนับสนุนภารกิจ ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เช่น การจัดเก็บข้อมูลจปฐ,การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม
กลุ่ม,องค์กรชุมชนแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน กลุ่มปลูกหอมแดงอินทรีย์ ที่สมาชิกปลูกและจำหน่ายหอมแดงสร้างรายได้ให้ชุมชน
ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำนันตำบลดู่ลาด นำเสนอการสร้างความมั่นคงด้านความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงในชีวิต ความสามัคคี การเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดยการร่วมกับตำบลดงมะไฟ ,ทรายมูล ร่วมทำแนวเขตป่าสาธารณะประโยชน์ดงมะไฟ เพื่อให้ประชาชน ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
พร้อมนี้คณะกรรมการได้ซักถามและให้คำแนะนำในการดำเนินงานให้แก่ผู้เข้าร่วมประกวด เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานให้หมู่บ้านมีความมั่นคงต่อไป อีกทั้งเยี่ยมชม กิจกรรมการทำน้ำดื่มชุมชน การทำเกษตรกรรมตามแนวทางโคก หนองนา การดำเนินงานโครงการธนาคารสัตว์น้ำ
ทั้งนี้ ตำบลดู่ลาด มี 12 หมู่บ้านจำนวน 1,456 ครัวเรือน ประชากร4,055 คน มีกลุ่มการรวมกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและกลุ้มผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในทุกหมู่บ้าน