ม.ขอนแก่น จับมือ กฟผ.ยกระดับมหาวิทยาลัยแห่งพลังงานสะอาดอัจฉริยะ ด้วยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์
ภายในพื้นที่ มหาวิทยาลัยและระบบเก็บกักพลังงาน ในกลุ่มของอาคารกีฬา และหอพักขนาด 1 เมกกะวัตต์ต่อชั่วโมง เพื่อต่อยอดรูปธุรกิจไฟฟ้าแบบใหม่ในอนาคต
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 21 เม.ย.2565 ที่สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. พร้อมด้วย ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการด้านยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ Smart Campus – Khon Kaen University ท่ามกลางความสนใจจากนักวิชาการ และนักศึกษา เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด
ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการด้านยุทธศาสตร์ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ.ได้ออกแบบ Smart Campus มข.ในรูปแบบรัฐกับรัฐ หรือ G2G ในการให้บริการการบริหารจัดการค่าสาธารณูปโภค หรือค่าไฟฟ้า โดยระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบรับประกันผลงาน ใน6 ระบบประกอบด้วย ระบบริหารจัดการพลังงาน เพื่อบริหารจัดการการใช้พลังงานให้มีการเชื่อมต่อกับระบบกักเก็บพลังงาน ที่สามารถสะสมพลังงานไว้ใช้ในเวลาที่ระบบต้องการสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการพลังงานที่มีความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า ควบคู่กับระบบบริหารจัดการรายอาคาร หรือ ENZY Platform เพื่อติดตามและควบคุมการใช้พลังงานในอาคารต่างๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ระบบปรับอากาศ ที่มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาควบคุมการปรับอุณหภูมิได้อัตโนมัติ พร้อมทั้งระบบแจ้งเตือนค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถปรับลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ทันที โดยตั้งเป้าการติดตั้งอุปกรณ์ระบบปรับอากาศขนาดไม่น้อยกว่า 20,000 บีทียู
”
กฟผ.จะดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ภายในพื้นที่ มข.และระบบเก็บกักพลังงาน ในกลุ่มของอาคารกีฬา และหอพักขนาด 1 เมกกะวัตต์ต่อชั่วโมง เพื่อกักเก็บสะสมพลังงานส่วนเกินจากระบบไฟฟ้าที่ผลิตจาก Solar System มาใช้จ่ายไฟในช่วงเวลาที่ต้องการโดยเพิ่มขีดความสามารถการซื้อขายไฟผ่านระบบการซื้อขายไฟ ในรูปแบบระหว่างคณะหรืออาคาร ซึ่งเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเดิมของอาคารผ่านอุปกรณ์ Smart Meter ที่มีระบบออกบิลเพื่อติดตามค่าไฟฟ้า และมูลค่าการเสนอซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย“
ดร.จิราพร กล่าวต่ออีกว่า กฟผ.ยังคงมีแผนติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายใต้แบรนด์Wallbox แบบชาร์จปกติและแบบจ่ายไฟกลับเข้ามาในระบบไฟฟ้า หรือ V2G ที่สามารถเก็บเงินจากผู้ที่มาใช้บริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าผ่านระบบรองรับการจ่ายเงินที่สามารถผ่อนผ่านระบบออนไลน์ได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง มข.กับ กฟผ. จะเป็นการสนับสนุนแผนนโยบายนด้านพลังงานสะอาด หรือ Net Zero ของ มข. สู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยแผนการดำเนินงานดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลงจะมีระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี โดยมั่นใจว่าการที่บุคลากรจากทั้ง 2 หน่วยงานได้เข้าร่วมการศึกษา วิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้จะเป็นการต่อยอดประสบการณ์การพัฒนาระบบSmart Energy Solutions เพื่อสรา้งประโยชน์ต่อประเทศร่วมกันต่อไป