ปัญหาที่ดินไทยจะเดินหน้าไปต่อได้อย่างไร(3) โดย-พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ
ในการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยและที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่สงวนหวงห้ามใช้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชน หรือของรัฐนั้น เห็นว่าต้องเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปเร่งด่วนในเบื้องต้นความปฏิรูป 5 ด้าน คือ
1.การปฏิรูปหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้บัญญัติเรื่อง เกษตรกรให้มีกรรมสิทธิ์และสิทธิในที่ดิน และแก้ไขกฎหมายที่ดิน ป่าเพื่อปฏิรูปที่ดินเกิดผลสำเร็จ การแก้ปัญหาที่ดินโดยแก้ไขกฎหมายไม่ต้องใช้เงิน แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นต้องใช้เงินมาก ต้องกล้าแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ทำให้ประชาชนมีสิทธิ์ในการเป็นรัฐสวัสดิการให้ได้ เราเอาปัญหาเรื่องที่ดิน ป่าไม้ให้เป็นรัฐสวัสดิการให้ได้ ตัวอย่าง เช่น รัฐธรรมนูญ 2517 เคยบัญญัติเรื่องการปฏิรูปที่ดินไว้ ว่า “รัฐพึงส่งเสริมให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ และสิทธิในที่ดิน เพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง โดยการปฏิรูปที่ดินและวิธีการอื่น” เป็นการเขียนที่ก้าวหน้ามากแต่ใช้ได้ไม่นานได้ถูกเปลี่ยนโดยปฏิวัติรัฐประหารเสียก่อน และถ้ามีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่นอกจากที่ดิน ต้องขยายไปถึงที่อยู่อาศัยและครอบคลุมทั้งสิทธิชุม รวมทั้งพิจารณาจำกัดการถือครองที่ดินด้วย ในรัฐธรรมนูญฉบับปี2560 ได้บัญญัติไว้เหมือนกันแต่เกษตรกรนั้นต้องยากจนหรือยากไร้ก่อน รัฐจึงจะให้ได้เข้าถึงสิทธิ์ คือการสงเคราะห์ แต่รัฐธรรมนูญปี 2517 นี้ถือว่าสิทธิ์เสมอกัน เพราะที่ดินเป็นสาธารณะสมบัติของชาติ ต้องสาธารณะสมบัติของประชาชน ซึ่งเมื่อที่ดินถ้าได้ถูกบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะทำให้กฎหมายที่ดินและป่าไม้ได้แก้ไขไม่ให้ขัดกับรัฐธรรมนูญต่อไป
สิ่งที่ต้องปฏิรูปและแก้กฎหมายที่ดินและป่าไม้ คือให้กระจายอำนาจที่ดินให้ชุ่มชนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจบริหารจัดการ โดยเริ่มที่ สปก. 40 ล้านไร่ กระจายอำนาจโอนไปให้เป็นอำนาจของท้องถิ่นชุมชน ให้นายก อบจ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นผู้มีอำนาจบริหารจัดการ เพราะที่ ส.ป.ก. การจัดที่ดินให้เฉพาะเกษตรกร และเกษตรกรต้องใช้ที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอาจมีการกำหนดกลไกในการจัดการที่ดินที่โอนให้ชุมชนมีส่วนร่วมและวิธีจัดการที่ชุมนุมมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ท้องถิ่นจะรู้ดีว่าใครเป็นเกษตรกรจริง ๆ เเกิดความแม่นยำ ไม่เกิดความผิดพลาดในการให้เกษตรกรเข้าถึง เนื่องด้วยปัจจุบันนี่ สปก. 40 ล้านไร่ที่ สปก. จัดส่งไปนั้น น่าจะมากถึง 20% ที่ที่ดินเหล่านั้นตกไปอยู่ในมือของนายทุนหรืออาจจะมากกว่านั้น ถ้าอำนาจถูกโอนไปท้องถิ่นจะได้ที่ดินจากนายทุนคืนมาหลายล้านไร่ ที่วันนี้ สปก. ก็ไม่มีอำนาจเข้าดูแลนอกจาก สปก แล้ว ที่ดินของรัฐอื่น เช่น กระทรวงการคลังต้องกล้าเอาที่ราชพัสดุ เมื่อกันให้ส่วนราชการที่จำกันไปใช้พอแล้วเหลือเท่าใด ส่งคืนไปยังส่วนของท้องถิ่นชุมชนให้บริหารจัดการกันเองด้วย
2. การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจของประชาชนให้เพิ่มขึ้น เพราะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีการสถาปนาโครงสร้างอำนาจรัฐให้เข้มแข็ง เป็นเสมือนสร้างพรรคการเมืองขึ้นมา คือ พรรคทหาร กับ พรรคราชการ เมื่อมีการพิจารณางบประมาณเงินภาษีอากรที่มาบริหารประเทศ ซึ่งมาจากการเก็บภาษีของประชาชน ถูกใช้จ่ายเป็นเงินเดือนบำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล และสวัสดิการของข้าราชการที่มีประมาณ 2.5-2.8 ล้านคนมากกว่า 1 ล้านล้านบาท เป็นการแสดงให้เห็นว่าสร้างรัฐราชการ ต้องเปลี่ยนแปลงกระจายอำนาจ กระจายงบประมาณ ให้ประชาชนมีโครงสร้างอำนาจ และเป็นระบบรัฐสวัสดิการ ในเรื่องทรัพยากรที่ดินต้องให้ประชาชนมีสิทธิ์ต้องปฏิรูปการใช้ประโยชน์ในที่ดิน