การเมือง

กทม. รับมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย “คลองผดุงกรุงเกษม” ประเภท เมืองเดิมน่าอยู่

(24 ..64) เวลา 10.00 . : นายเกรียงยศ สุดลาภา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รับมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมประเภท เมืองเดิมน่าอยู่ โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบ พร้อมด้วย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ผู้แทนจากสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธี อาคารภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

โดยวันนี้มีการประกาศรับรองการเป็นพื้นที่พัฒนาเมือง 15 เมือง ประกอบด้วย 1.เมืองอัจฉริยะคลองผดุงกรุงเกษม 2.เมืองอัจฉริยะสามย่าน 3.เมืองอัจฉริยะมักกะสัน 4.เมืองอัจฉริยะพระราม4 5.เมืองอัจฉริยะภูเก็ต 6.เมืองอัจฉริยะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 7.เมืองอัจฉริยะนครสวรรค์ 8.เมืองอัจฉริยะฉะเชิงเทรา 9.เมืองอัจฉริยะเชียงใหม่ 10.เมืองอัจฉริยะยะลา11.เมืองอัจฉริยะวังจันทร์ วัลเลย์ 12.เมืองอัจฉริยะขอนแก่น 13.เมืองอัจฉริยะตรัง 14.เมืองอัจฉริยะแม่เมาะ และ 15.เมืองอัจฉริยะแสนสุข

สำหรับโครงการ Smart City ”เมือง

อัจฉริยะถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยุทธศาสตร์ชาติ20 ปีด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติโดยรูปแบบการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. เมืองเดิมน่าอยู่ พัฒนาจากเมืองเดิมที่มีอยู่แล้วก่อนนำโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เป็นสมัยใหม่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 2. เมืองใหม่ คือสร้างเมืองใหม่เป็นพื้นฐานสมัยใหม่ วางโครงสร้างพื้นฐานใหม่สร้างสิ่งในความสะดวกขึ้นมาใหม่ เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองใหม่แห่งนี้ โดยมีองค์ประกอบการพัฒนา 7 ด้าน ประกอบด้วย 1. Smart Environment คือต้องมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. Smart Economy คือต้องทำให้ประชาชนมีรายได้ที่ดีโดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการประกอบอาชีพในการทำธุรกิจ 3. Smart Mobility คือการเดินทางการขนส่งของพี่น้องประชาชนโลจิสติกส์ต่างๆ ในเมืองต้องสะดวกและปลอดภัย 4. Smart Governance คือการบริหารจัดการเมือง การบริหารของหน่วยงานภาครัฐในเมืองต้องโปร่งใสเป็นธรรมและประชาชนต้องมีส่วนร่วม 5. Smart Living ประชาชนต้องเข้าถึงบริการทางการแพทย์ มีการลดปัญหาอาชญากรรม มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนดียิ่งขึ้น การพัฒนาเมืองอัจฉริยะของแต่ละพื้นที่จะพัฒนาตามเส้นทาง และบริบทของแต่ละพื้นที่ 6. Smart People ประชาชนที่อยู่ในเมืองต้องได้รับการพัฒนาอาชีพ ต้องมีการให้ความรู้ เสริมทักษะต่างๆ เพื่อให้มีกำลังคนที่พร้อมในการพัฒนาเมืองต่อไปในอนาคต 7. Smart Energy เรื่องของพลังงาน เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเมืองโดยพลังงานทดแทนต้องถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาเมืองนั้นให้ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า