เศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว

กรมทางหลวง เปิดเวทีรับฟังเสียงประชาชน (สัมมนา ครั้งที่ 2) ปรับปรุงสะพานสิริลักขณ์ แก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในตัวเมือง จ.ราชบุรี

วันนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2565) เวลา 09.00 . นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการพิจารณารูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมของโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 2)

โครงการสำรวจและออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองบนทางหลวงหมายเลข 4 (สะพานสิริลักขณ์) ห้องกัลปพฤกษ์ โรงแรมเวสเทิร์น แกรนด์ ราชบุรี .ราชบุรี เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของการศึกษาโครงการ พร้อมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการที่เหมาะสมให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนเข้าร่วมการประชุม

สำหรับการจัดประชุมในครั้งนี้ กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอแนวคิดการออกแบบและปรับปรุงโครงการ แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1.แนวคิดการออกแบบและปรับปรุงสะพานสิริลักขณ์ ปรับปรุงสะพานจากเดิมที่มีขนาด 4 ช่องจราจร เป็น 8 ช่องจราจร (ไปกลับ) ช่วยแก้ไขปัญหาบริเวณคอสะพานที่มีการตัดกระแสจราจรเข้าออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจรและลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ  2.แนวคิดการออกแบบและปรับปรุงบริเวณแยกโคกหม้อ โดยปรับปรุงสะพานข้ามทางรถไฟ (แยกโคกหม้อ) จากเดิมที่มีขนาดความกว้าง 4 ช่องจราจร เป็น6 ช่องจราจร (ไปกลับ)  โดยปรับปรุงเป็นสะพานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ (I-Girder) ขยายเพิ่มเติมข้างละ 1 ช่องจราจร พร้อมไหล่ทางด้านใน

นอกจากนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอผลการคัดเลือกรูปแบบของโครงการ ดังนี้ 1.การออกแบบและปรับปรุงตำแหน่งการก่อสร้างสะพานสิริลักขณ์ จะใช้รูปแบบการก่อสร้างสะพานใหม่ทดแทนทั้ง 2 สะพาน

ขนาด 4 ช่องจราจรต่อทิศทาง ความกว้างช่องละ 3.50 เมตร พร้อมทางเท้า ทำให้มีช่องจราจรตอนเปิดใช้งานรวม 8 ช่องจราจร พร้อมทางเท้าใหม่ด้านข้างทั้งสองฝั่ง ซึ่งรูปแบบนี้มีความเหมาะสมด้านการจัดการจราจรระหว่างก่อสร้าง และเป็นรูปแบบที่ไม่ต้องทำการซ่อมแซมสะพานเดิม และยังเป็นรูปแบบที่สามารถขยับช่องห่างระหว่างสะพานทั้งสองตัวเข้าหากันเพิ่มเติมได้ ซึ่งจะทำให้สะพานใหม่มีความแข็งแรง ปลอดภัยต่อการขับขี่ 2.การออกแบบและปรับปรุงรูปแบบโครงสร้างสะพานสิริลักขณ์ จะใช้รูปแบบการก่อสร้างด้วยเทคนิคแบบสะพานคานยื่นสมดุล (Balance Cantilever Bridge) เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่สามารถจัดระยะการก่อสร้างได้เหมาะสม สามารถใช้วัสดุที่ผลิตภายในประเทศได้ทั้งหมด การบำรุงรักษาไม่ยุ่งยากและมีราคาค่าก่อสร้างไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับสะพานรูปแบบอื่นๆ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี และใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 900 ล้านบาท ทั้งนี้ โครงการฯ ยังให้ความสำคัญในการดำเนินการตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนด้วย

ภายหลังการประชุมครั้งนี้ กรมทางหลวง โดยสำนักสำรวจและออกแบบ จะรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาของโครงการให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจะดำเนินงาน

การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์รายละเอียดข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง โดยกำหนดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอีก 2 ครั้ง ในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นการประชุมเพื่อหารือมาตรการป้องกัน แก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และในเดือนเมษายน 2565 ประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ 3 ช่องทาง ได้แก่1.เว็บไซต์  www.hw4-maeklongbridge.com  2.แฟนเพจเฟสบุ๊ค : โครงการสำรวจและออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองบนทางหลวงหมายเลข 4  3.Line Official : @hw4maeklongbridge

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า