ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.ชลบุรี พบผู้ป่วยรายใหม่ 395 ราย
ทั้งนี้ น.พ.ณรงค์ อภิกุลวณิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 พร้อมด้วยน.พ.อภิรัต กตัญญุตานนท์ น.พ.สาธารณสุขจ.ชลบุรี และแพทย์หญิงจิรวรรณ อารยะพงษ์ ผู้อำนวยการ รพ.ชลบุรี เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ที่รพ.ชลบุรี
วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 395 ราย
1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 21 ราย สะสม 547 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 123 ราย
2. CLUSTER บริษัท อิมานากะ (ไทยแลนด์) จำกัด อ.ศรีราชา 5 ราย สะสม 8 ราย
3. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 14 ราย
4. บุคลากรทางการแพทย์ 7 ราย
5. ให้ประวัติเดินทางมาจากต่างจังหวัด 3 ราย ดังนี้
5.1 จังหวัดขอนแก่น 1 ราย
5.2 จังหวัดนครราชสีมา 1 ราย
5.3 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1 ราย
6. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
6.1 ในครอบครัว 92 ราย
6.2 จากสถานที่ทำงาน 68 ราย
6.3 บุคคลใกล้ชิด 17 ราย
6.4 ร่วมวงสังสรรค์ 3 ราย
7. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 16 ราย
8. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 149 ราย
ณ วันที่ 22 มกราคม 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,840,184 คน ซึ่งในเดือนนี้มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 6,260 คน ปอดอักเสบ 24 ราย ใส่ท่อหายใจ 2 ราย และเสียชีวิต 5 ราย
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 96,671 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 392,218 คน รวม 488,889 คน ในเดือนนี้ พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ 295 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีน 7,369 คน ปอดอักเสบ 18 ราย ใส่ท่อหายใจ 7 ราย และเสียชีวิต 8 ราย
สำหรับวันนี้ พบผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 1 ราย (ไม่พบประวัติการรับวัคซีน) และพบผู้ป่วยปอดอับเสบ
รายใหม่ 4 ราย (ไม่พบประวัติการรับวัคซีนสองราย)
การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มีโอกาศที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น
ขณะนี้มีการระบาดที่พัทยา อำเภอบางละมุงและอำเภอเมืองชลบุรี และมีอุบัติการณ์สูงที่บริเวณตลาด ทรีทาวน์ ซอยบัวขาวพัทยา อำเภอบางละมุง และร้านอาหารจำหน่ายสุราถนนลงหาดบางแสน หาดวอนนภา อำเภอเมืองชลบุรี และเริ่มมีการกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นในเขตพัทยา ขอให้ผู้ที่เข้าไปในบริเวณตลาดทรีทาวน์ พัทยา ร้านอาหารจำหน่ายสุรา ในเขตพัทยาอำเภอบางละมุง และตำบลแสนสุข อำเภอเมือง หรือไปยังสถานที่แออัดในช่วงนี้ตรวจ ATK ทุกคน 2 ครั้ง ครั้งแรกและอีก 5 วัน
สำหรับผู้เดินทางกลับจากภูมิลำเนา ให้ตรวจ ATK 2 ครั้ง ครั้งแรกและอีก 5 วัน
ขณะนี้พบการระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ในเขตเมืองพัทยา อำเภอบางละมุงและตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี และเริ่มมีการสุ่มตรวจพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน อำเภอศรีราชา อำเภอสัตหีบ มากขึ้น ซึ่งจะมีการระบาดที่รวดเร็ว ขอให้ทุกท่านเคร่งครัดในมาตรการ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด และหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มสังสรรค์
ร้านอาหารจำหน่ายสุราในเขตพัทยา อำเภอบางละมุง เขตอำเภอเมืองชลบุรี ต้องคัดกรองลูกค้าด้วย ATK ทุกคน สำหรับอำเภออื่นๆ ให้ตรวจ ATK ในร้านที่ลูกค้ามากกว่า 100 คน หรือค่อนข้างแออัด
สถานประกอบการ คัดกรองพนักงานก่อนเปิดกิจการหลังเทศกาลปีใหม่ ด้วย ATK และต้องปฏิบัติตามมาตรการองค์กรอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับการดำเนินกิจการของสถานประกอบการเนื่องด้วยเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนมีการระบาดอย่างรวดเร็ว
1. เลิกงานไม่สังสรรค์
2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย
3. ป่วยต้องหยุด
4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที
5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆกัน
6 สุ่มตรวจ ATK สม่ำเสมอ
สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องมีการกักตัวอย่างเข้มงวด ไม่ออกไปแพร่เชื้อ
การควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดชลบุรี อยู่บนพื้นฐานของสมดุลระหว่างการควบคุมโรค เศรษฐกิจ สังคม
ปัจจัยความเร็วในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นกับการเคลื่อนที่นอกบ้านของประชาชนความใกล้ชิดกัน รวมทั้งระยะเวลาในการใกล้ขิดกัน นอกเหนือจากการไม่เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล หากไม่ล้างมือก่อนจับหน้า เชื้อเข้าทางจมูก ปากตา ทำให้มีการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้
ในสภาวะการณ์ที่โควิด-19 มีการระบาดในวงกว้าง จนอาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น เชื้อไม่ได้หมดสิ่นไป ทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อได้ แต่ต้องไม่ให้เกิดการระบาดจนระบบสาธารณสุขรองไม่ไเ้ และต้องไม่เสียชีวิต ดังนั้นจึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของจังหวัดชลบุรี
ค้นให้มาก กักให้ดี ชีวิตวิถีใหม่ ร่วมใจฉีดวัคซีน
1 ค้นให้มาก สถานที่ให้บริการประชาชน แหล่งชุมนุมชน ต้องมีการคัดกรองด้วย ATK สม่ำเสมอ ประชาชนที่มีอาการหรือสงสัยสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้มีการตรวจ ATK คัดกรอง
2 กักให้ดี ผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อให้กักตัวให้ดี ผู้ติดเชื้อต้องแยกกัก ไม่ให้แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
3 ชีวิตวิถีใหม่ ทุกคนต้องเคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล อยู่ห่างกัน หมั่นล้างมือ แมสก์ต้องใส่ เขื้อเข้าทาง จมูก ปาก ตา ต้องไม่จับหน้า โดยไม่ล้างมือ ทุกคนต้องสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่โควิด-19 ยังคงต้องหลงเหลือ ( smart living with covid-19 )และอาจกลายเเป็นเชื้อประจำถิ่น สถานที่ให้บริการประชาชน ต้องมีมาตรการควบคุมปัองกัน ( covid-19 free setting)
4 ร่วมใจฉีดวัคซีน วัคซีนลดความรุนแรงของโควิด-19 ได้ 100% แต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้ ยังคงต้องมีสุขอนามมัยส่วนบุคคล ขอความร่วมมือทุกท่านในการฉีดวัคซีน เพื่อลดความเร็วในการระบาด และลดความรุนแรงของโควิด-19 โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประตำตัว ขณะนี้ยังคงมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว และเป็นผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน
การควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 เป็นหน้าที่ของทุกคน
22 มกราคม 2565 เวลา 06.30 น.
นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 พร้อมด้วยนายแพทย์อภิรัต กตัญญุตานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี และแพทย์หญิงจิรวรรณอารยะพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ที่โรงพยาบาลชลบุรี
ทั้งนี้ เขตสุขภาพที่ 6 กำหนดให้มีการรณรงค์รับวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector) หรือวัคซีน AstraZeneca ภายใต้แคมเปญ R6 AstraZeneca Priority ซึ่งวัคซีน AstraZeneca เป็นหนึ่งในวัคซีนที่ประเทศไทยใช้เป็นวัคซีนหลัก โดยประชาชนที่เคยรับวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Sinovac/Sinopharm) ครบสองเข็ม หรือรับวัคซีนเชื้อตาย(Sinovac/Sinopharm) เป็นเข็มที่หนึ่ง และรับวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (AstraZenaca) เป็นเข็มที่สอง และเข็มที่สาม สามารถติดต่อขอรับบริการวัคซีน AstraZeneca เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ได้ที่หน่วยบริการใกล้บ้าน