บทความ-สารคดี

หลักธรรมะ​ วันมาฆะ​ คือคำสอน เพื่อสันติภาพ

วันที่​ 24​ กุมภาพันธ์​ 2567​ เป็นวันมหามงคลวันหนึ่งนอกจากเป็นวันมาฆบูชาแล้วยังเป็นวันที่รัฐบาลอินเดียไทยและสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย​ 980​ เชิญพระบรมสารีริกธาตุ​ (ของจริง)​ พระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจากอินเดียมาประดิษฐานในไทยระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ถึง​ 18​ มีนาคม​ 2567​ เพื่อร่วมฉลองในพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา​ 6​ รอบ​ 72​  พรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันซึ่งตรงกับวันที่​ 28​ กรกฎาคม​ 2567​ และให้ประชาชนบูชาเพื่อความเป็นมงคล

ในการแถลงข่าวเรื่องการเสด็จพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ​ ​ นั้นเสริมศักดิ์พงษ์พานิชรมว.กระทรวงวัฒนธรรมและสุภชัยวีระภุชงค์เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชาลัย980​ ผู้ประสานงานระหว่างรัฐบาลอินเดียกับกระทรวง​  วัฒนธรรมของไทยได้กล่าวว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาที่พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุมาจากอินเดียพร้อมกันและประดิษฐานที่เดียวกัน

จึงขอเชิญประชาชนบูชาตั้งแต่วันที่​ 24​ กุมภาพันธ์ถึง​ 3​ มีนาคม​  ตั้งแต่เวลา​ 9.00​ .ถึง​ 20.00 .​และจะมีสวดมนต์ภาวนา​  ในตอนค่ำทุกวันมณฑลท้องสนามหลวง

 อานิสงส์บูชาพระบรมสารีริกธาตุ​ 

ผู้บูชาพระบรมสารีริกธาตุได้อานิสงส์

1)เสวยสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

2) เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

3) ไม่ไปเกิดในทุคติ

4) เสวยสมบัติในมนุษย์โลก

5) ได้บรรลุปฏิสัมภิทา

6) จะบรรลุนิพพาน

อานิสงส์บูชาพระสารีริกธาตุเกิดทันตา” 

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูสร้างสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่กรุงราชคฤห์นั้น​  หญิงชราผู้หนึ่งทราบได้เกิดศรัทธาจึงหาดอกบวบขมได้​4​ ดอกเดินทางไปยังสถูปด้วยจิตตั้งมั่นว่าจะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

ขณะที่เดินทางไปนั้นได้เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย​  เมื่อวัวแม่ลูกอ่อนมาขวิดโดยไม่ทันระวังตัว

เพราะจิตเลื่อมใสศรัทธาจะไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุเท้านั้นส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเทพธิดาอยู่ในปราสาทสีเหลืองอร่าม

ท้าวสักกะเทวราชเห็นแล้วได้แต่แปลกใจจึงสอบถามว่าทำบุญอะไรมาจึงได้ทิพยสมบัติเช่นนี้เมื่อทราบว่าแค่ตั้งใจก็มีอานิสงส์มากขนาดนี้

ถ้าได้บูชาจริงจะมีอานิสงส์ขนาดไหน

จึงตรัสกับมาตลีเทพบุตรว่าควรไปบูชาพระเขี้ยวแก้วที่จุฬามณี​  ที่ตั้งบนสวรรค์นั้น

หลักธรรมวันมาฆ

 ส่วนหลักธรรมวันมาฆ นั้นก็ให้ตั้งใจปฏิบัติตามโอวาทปาฏิโมกข์

คือไม่ทำบาปทุกประเภทให้ทำแต่กุศลกรรม​ (กายวาจาใจสุจริต)​

และชำระจิตใจให้สะอาด​ (หลีกหนีกิเลสโลภโกรธหลง)​

 พร้อมกันนั้นต้องมีอุดมการณ์คือ​1​ มีความอดทน​ 2​ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง​ 3​ หาความสงบ​ 4​ ทำพระนิพพานให้แจ้ง

ในขณะเดียวกันให้ยึดหลัเผยแผ่​ 

คือเป็นบรรพชิตต้องไม่ทำร้ายผู้อื่น

เป็นสมณะต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น

การไม่กล่าวร้าย​ 

การไม่ทำร้ายความสำรวมในพระปาฏิโมกข์รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารให้นั่งนอนในที่สงัด

และทำความเพียรในอธิจิต

หลักการนี้เรียกว้าหัวใจพระพุทธศาสนาสามารถสรุปรวมสั้นๆคือศีลสมาธิและปัญญา

 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำตัญของศาสนาถ้าชาวพุทธน้อมนำหลักธรรมหรือหัวใจพุทธศาสนามาปฏิบัติในชีวิตประจำวันความสงบสุขและสันติย่อมเกิดแก่ผู้ปฏิบัติและสังคมอย่างไม่ต้องสงสัย

สมานสุดโตรายงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า