ศาสนา-ศิลปวัฒนธรรม

ภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมีมติเลือก “พระเทพวัชรเมธี” เป็นอธิการบดี มมร อีกสมัย

วันอังคารที่ 28 มีนาคม 2566 พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หรือ มมร ในฐานะเลขานุการสภามหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ตามที่ พระเทพวัชรเมธี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ และจะครบวาระสี่ปี สภามหาวิทยาลัยจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยมีเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธพจนวชิรมุนี
วัดเครือวัลย์ เป็นประธานกรรมการ

คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เสนอชื่อ พระเทพวัชรเมธี เป็นอธิการบดี มมร
อีกวาระหนึ่ง และในการประชุมสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๗มีนาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา
ได้มีมติเห็นชอบ จากนี้ จะได้ดำเนินการนำความกราบทูลเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช เพื่อขอรับพระบัญชาแต่งตั้งต่อไป

เลขานุการสภามหาวิทยาลัยกล่าวต่อไปว่า ในการพิจารณาแต่งตั้งอธิการบดีครั้งนี้สภามหาวิทยาลัย
ได้พิจารณาทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษากลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนาที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านการศึกษาและวิจัยทางพระพุทธศาสนาสู่ระดับสากล สร้างและพัฒนา
ศาสนทายาทที่มีศักยภาพสูง ส่งเสริมการสร้างสังคมวิถีพุทธและความสามัคคีของคนในชาติ ตลอดจนบูรณาการศาสตร์และศิลป์สมัยใหม่เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับบริบทสังคมยุคดิจิทัล จึงได้พิจารณาเห็นว่า พระเทพวัชรเมธี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เหมาะสม โดยได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมาแล้ว
วาระหนึ่ง ได้พัฒนาระบบบริหารงานภายในอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความก้าวหน้าเป็นที่ประจักษ์ อีกทั้ง
ยังสามารถสนองงานคณะสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พระเทพวัชรเมธี (สมคิด จินฺตามโย) ปัจจุบันอายุ ๕๓ ปี ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เกิดที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง อุปสมบท วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ โดยมีเจ้าประคุณ
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี อดีตเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เป็นพระภิกษุที่มีผลงานทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาและการบริหารการศึกษานอกจากนี้
ในการดำรงตำแหน่งวาระที่ผ่านมา ยังได้ปรับโครงสร้างองค์กรและพัฒนามหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้าไปมาก ทั้งยังมีผลงานวิชาการสำคัญคือ คืนธรรมชาติสู่ธรรม(Green Buddhism for Sustainable Development) และกระบวนทัศน์พระพุทธศาสนาในโลกดิจิทัล (Buddhist Paradigms in the Digital World) ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายอีกด้วย

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า