ปัญหาที่ดินไทยจะเดินหน้าไปต่อได้อย่างไร(จบ) โดย-พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ
หลังรัฐประหารปี 2557 ได้เกิดวิกฤตกับชาวบ้านและชุมชนที่อยู่กับป่า คือนโยบายทวงคืนผืนป่าที่สามารถตรวจยึด จับกุม ดำเนินคดีกับผู้ยากไร้ เป็นการพรากชาวบ้าน เกษตรกรและชุมชนไปจากแผ่นดินเกิด ก็จะเกิดปัญหาตามมาเป็นลูกโซ่ ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ ความเป็นธรรมทางสังคม เพราะฉะนั้นควรต้องยกเลิกคำสั่ง คสช. นโยบายทวงคืนผืนป่าเพราะ ตอกลิ่มความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรม อาทิ พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ที่มีผลใช้บังคับทำให้ที่ดินของประชาชนที่ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศประมาณ 4.7 ล้านไร่ตามมติ ครมเดิม ที่ต้องพิสูจน์สิทธิว่าประชาชนอยู่มาก่อนกฏหมาย และรัฐบุกรุกที่ดินของประชาชน หรือไม่ที่ผลการพิสูจน์สิทธิ์จำนวนมากว่ารัฐประกาศพื้นที่อุทยานทับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชนแต่กฏหมายอุทยานฉบับนี้ทำให้คนเหล่านี้จึงกลายเป็นผู้อยู่อาศัยกลายเป็นผู้กระทำความผิดจึงไม่เป็นธรรม ในการออกกฎหมาย คสช.ไม่ฟังเสียงประชาชน และยังได้กำหนดเพิ่มโทษคดีบุกรุกอุทยานแห่งชาติ เป็น จำคุกตั้งแต่ 4 ปีถึง 20 ปี หรือปรับตั้งแต่ 400,000-2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในการแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมจากกฎหมายและความไม่เสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย การปฏิรูปกฎหมาย ที่ดินและป่าไม้ ไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงใจกว้างและกล้าหาญที่จะกระจายอำนาจหรือโอนอำนาจ หรือเปลี่ยนอำนาจให้ประชาชน ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแทนก็สามารถแก้ปัญหาได้แล้วโดยไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตามมีตัวอย่างในหลายประเทศว่า “การปฏิรูปที่ดินประสบความสำเร็จ มีเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว การปฏิรูปดินประสบความล้มเหลวมีเฉพาะในประเทศที่ด้อยการพัฒนา”