จ.ปทุมธานีออกคำสั่ง ให้ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถเปิดให้บริการได้โดยให้บริโภคอาหารหรือ เครื่องดื่ม ในร้านได้ไม่เกินเวลา ๒๐.๐๐ น.
บริโภคในร้าน หากเป็นการบริโภคในห้องปรับอากาศให้มีจำนวนไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของจำนวนที่นั่งปกติ
สำหรับกิจการห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ กิจการ/กิจกรรมสามารถเปิดดำเนินการได้ทุกแผนก ภายใต้มาตรการ ยกเว้น กิจการ/กิจกรรม
กิจการ กิจกรรมที่เปิดได้แบบมีเงื่อนไข ได้แก่ ร้านเสริมสวย ร้านตัดผมหรือแต่งผม เปิดได้เฉพาะตัดผมเท่านั้น ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ร้านนวด เปิดได้เฉพาะนวดเท้า คลินิกเสริมความงาม เปิดจำหน่ายสินค้าเท่านั้น (อาจมีการนัดหมายล่วงหน้า เมื่อมีความพร้อม) ร้านอาหาร เปิดได้ตามเงื่อนไขของมาตรการร้านอาหารมีเครื่องปรับอากาศ ฯลฯ
คำสั่งจังหวัดปทุมธานี
ที่๔๕๖๖ / ๒๕๖๔
เรื่อง กำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด – 19)
ตามที่จังหวัดปทุมธานี ได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติคเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (โควิด – 19) ให้ผู้ที่เกี่ยวซ้องถือปฏิบัติไปแล้ว นั้น
โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันฝ่ายสาธารณสุข
ได้ประเมินว่าค่อนข้างทรงตัวและมีแนวโน้มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น แม้จำนวนของผู้ป่วยอาการรุนแรง จะยังคง
มีระดับสูงอันเป็นผลจากการสะสมของผู้ติดเชื้อในช่วงที่ผ่านมา แต่ผู้ติดเชื้อรายใหมในแต่ละวัน มีจำนวนลดลง
อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ที่ใด้รับการรักษาพยาบาลจนหายป่วยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งผลตังกล่าวเกิดจาก
การบูรณาการและประสานความร่วมมือของผ้ายสาธารณสุข ฝ้ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง อาสาสมัครและประชาชน
ทุกภาคส่วนในการระตมสรรพกำลังเพื่อให้ความช่วยเหลือ และป้องกันโรคแก่ประชาชน ทั้งมีการเร่งฉีดวัคชีนแก่กลุ่ม
ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการติตโรค การตรวจคันหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก การให้คำแนะนำและติดตามดูแลผู้ติดเชื้อ การกระจาย
ยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็น อีกทั้ง มีการประสานงานเพื่อส่งต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยให้เข้ารับการรักษาพยาบาล
พนักงานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่รับผิดชอบจึงได้มีการประเมินผลและความเหมาะสมของการบังคับใช้บรรตา
มาตรการตามข้อกำหนดที่ใด้ประกาศไว้ก่อนหน้าเสนอต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรน1 2019 (โควิด – 19) (คนค.) เพื่อพิจารณาปรับปรุงการบังคับใช้ในบางมาตรการให้เหมาะสม กับสถานการณ์
ที่เปลี่ยนแปลงไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๔ และมาตรา ๓4 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ. b๕๕๘ ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์
ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕b๓ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราช
กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.!, 6๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๒) ลงวันที่ ๒๘สิงหาคม ๒๕๖๔
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติตต่อจังหวัดปทุมธานี ตามมติที่ประชุมครั้งที่
๔๒/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๔ จึงกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติตเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต – 19) ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ตังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การกำหนดพื้นที่สถานการณ์จำแนกตามเขตพื้นที่จังหวัด ให้การกำหนดระดับของพื้นที่
สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ จำแนกเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุม
สูงสุด และพื้นที่ควบคุม เป็นไปตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
ติตเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ ๑๓/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕“‘๖๔ที่ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป
ข้อ ๒ ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพรโรค ให้ข้อห้ามการจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อ
การแพรโรค ขั้นตอนการขออนุญาตจัดกิจกรรม การพิจารณาอนุญาต รวมทั้งกิจกรรมหรือการรวมกลุ่มที่ได้รับยกเว้น
ที่สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ตามข้อ ๔ และข้อ ๕ แห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓๐) ลงวันที่ ๑ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๖๔ ยังคงบังคับใช้ต่อไป โดยปรับมาตรการเฉพาะในเรื่องจำนวนบุคคสที่เข้ารวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมในพื้นที่
ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามการจัตกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่ายี่สิบห้าคน
ข้อ ๓ มาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจะบังคับใช้ในอนาลต ให้สำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดปทุธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมมาตรการภาครัฐและแผนการเกี่ยวกับการจัดหาและจัดสรรวัดชีน ยา
เครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลสนาม สถานพยาบาล และเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั้งส่วนบุคคล องค์กร
ผู้ประกอบการแต่ละประเภทรับทราบและแนะนำแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เพื่อให้เกิดการเดรียมความพร้อม
และการปฏิบัติตน โดยเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันตนเองขั้นสูงสุดตาม“มาตรการป้องกันการติตเชื้อแบบ
ครอบจักรวาล” (Universal Prevention for COVID – 19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนต สำหรับการจะบังคับ
ใช้ในอนาคต
ให้ผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่ รับผิดชอบขององค์กรหรือหน่วยงานตรวจสอบและกำกับดูแล
ให้มีการปฏิบัติตาม “มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร” (Covid Free Setting) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพรโรคของสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมที่ใต้อนุญาตให้เปิดคำเนินการใต้ เพื่อเตรียมความ
พร้อมสำหรับการจะบังคับใช้ในอนาคตในการเปิดสถานที่ และการดำเนินกิจการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างปลอดภัย
ต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยให้มีการประเมินผลภายในหนึ่งเดือน
ข้อ ๔ การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการสำหรับพื้ นที่ ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
ให้บรรดามาตรการ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดตามที่กำหนดไร้ ตามข้อกำหนดและ
ในคำสั่งจังหวัดที่ใด้มีไว้ก่อนหน้า ไห้แก่ การห้ามออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา๒๑.๐๐ นาฬิกา ถึง ๐๔.๐๐ นาฬิกา
ของวันรุ่งขึ้น การปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำการของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และเอกชนที่ให้ดำเนินการเต็ม
ความสามารถที่จะทำได้ รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่
รับผิดชอบได้กำหนดขึ้นเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ยังคงใช้บังคับต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อยสิบสี่วัน
(จนถึงวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔)
ข้อ ๕ การปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลและติตตามการตำเนินการของ
สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมในพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนด เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่ใด้ปรับมาตรการตาม
ช้อกำหนดตังกล่าวข้างตันเพื่อให้เปิดตำเนินการใต้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และ
มาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งมาตรการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติต่อที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ
กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ
(๑) โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท ให้สามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียน
การสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากได้ โดยให้ผู้แทน
กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
รับผิดขอบ ร่วมกับคณะกรรมการโรคติตต่อจังหวัดปทุมธานี พิจารณาความจำเป็นและการดำเนินการตามมาตรการ
ป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุตมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม และ
กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๒) ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม สามารถเปิดให้บริการได้โดยให้บริโภคอาหารหรือ เครื่องดื่ม
ในร้านได้ไม่เกินเวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกาห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน และจำกัดจำนวนผู้นั่ง
บริโภคในร้าน หากเป็นการบริโภคในห้องปรับอากาศให้มีจำนวนไม่เกินร้อยละ ๕๐ของจำนวนที่นั่งปกติ แต่หากเป็น
การบริโภศในพื้นที่เปิดที่อากาศสามารถระบายถ่ายเทด้ตี เช่น ร้านอาหารชนาดเล็กหาบเร่ แผงลอย รถเข็น
ให้มีจำนวนผู้นั่งบริโภคไม่เกินร้อยละ ๗๕ของจำนวนที่นั่งปกติ และให้ใช้บังคับมาตรการนี้กับร้านจำหน่ายอาหารหรือ
เครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลส์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันด้วย
(๓) สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมให้เปิดดำเนินการได้
(๔) สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หรือสถานประกอบกรนวดแผนไทย ให้เปิดให้บริการได้
เฉพาะการให้บริการนวดเท้า
(*) ตลาดนัด ให้เปิดตำเนินการใด้ตามเวลาปกติจนถึง ๒๐.๐๐นาฬิกา เฉพาะการจำหน่ายสินค้า
อุปโภคหรือบริโภค
(๖) ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบกิจการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
สามารถปิดดำเนินการใด้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ จนถึงเวลา๒๐.๐๐ นาฬิกาเว้นแต่กิจการหรือกิจกรรม
บางประเภทที่กำหนดเงื่อนไขควบคุมการให้บริการ หรือให้ปิดการดำเนินการไว้ก่อน
ก. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงม สามารถปิดดำเนินการและให้บริการได้
ผ่านการนัดหมาย ส่วนร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมให้เปิดดำเนินการได้ โดยผ่านการนัตหมายและจำกัดเวลา
การให้บริการในร้านไม่เกินรายละหนึ่งชั่วโมง
ข. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ หรือสถานประกอบการนวดแผนไทย ให้เปิดดำเนินการได้
โตยผ่านการนัดหมายและจำกัดเฉพาะการให้บริการนวดเท้า
ค. สถาบันกวตวิชา โรงภาพยนตร์ สวนสนุก สวนน้ำ สระว่ายน้ำ สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส
ตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม การจัดเลี้ยงหรือการจัดประชุม ยังคงให้ปิดการดำเนินการไว้ก่อน
(๔) สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ำเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ำเพื่อการสันทนาการ
หรือสระว่ายน้ำสาธารณะ หรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทกลางแจ้งหรือตั้งอยู่ที่เป็นพื้นที่โล่ง สนามกีฬา
หรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายประเภทในร่มที่อากาศถ่ายเทด้ดี สามารถปิดคำเนินการได้ไม่เกินเวลา
๒๐.๐๐ นาฬิกา และสามารถจัดการแข่งขันได้โดยไม่มีผู้ชมในสนาม โดยให้หน่วยงานผู้จัดหรือเจ้าของสถานที่
กำหนดมาตรการการใช้สถานที่เป็นการเฉพาะเพื่อความเหมาะสมกับสถานที่นั้น ตามที่กระทรวงสาธารณสุข
และทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
(๘) ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แจ้งต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี เพื่อเข้าใช้สนามกีฬาทุกประเภทเพื่อการฝึกซ้อมของนักกีฬาทีมชาติใด้
โดยไม่มีผู้ชมในสนาม แต่ต้องตำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
สำหรับกิจการ/กิจกรรม และข้อปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) จังหวัดปทุมธานี แนบท้ายคำสั่งนี้
ข้อ ๖ การใช้เส้นทางคมนาคมเพื่อการเดินทางข้ามจังหวัดจากเขตพื้นที่ ควบคุมสูงสุด
และเข้มงวด การเดินทางชามเขตจังหวัดและการเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ไปยังพื้นที่อื่น
สามารถกระทำได้ แต่ขอความร่วมมือให้ประชาชนเดินทางต่อเมื่อกรณีมีเหตุจำเป็นเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงต่อ
การติดเชื้อและการแพรโรค และหากเป็นการเดินทางของผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่มีประวัติเสี่ยงติดเชื้อ ให้เดินทางผ่าน
มาตรการหรือรูปแบบการเดินทางที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะเท่านั้น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อระหว่างการเดินทาง
ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่คงมีอำนาจตรวจตราความเรียบร้อย และการตรวจคัตกรองเพื่อให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค
โดยเป็นไปตามแนวทางที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิต – 19 (ศปก.ศบค.) กำหนด
ข้อ ๗ การขนส่งสาธารณะ ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดปทุมธานี และหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับ
ดูแลการให้บริการขนส่งผู้โตยสารสาธารณะทุกประเภทในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และการขนส่งสาธารณะ
ระหว่างจังหวัดทุกประเภททั่วราชอาณาจักรให้เป็นไปตามแนวทางที่ ศปก.ศบค. กำหนด โดยจำกัดจำนวนผู้โดยสารที่
ใช้บริการไม่เกินร้อยละ ๗๕ ของความจุผู้โดยสารสำหรับยานพาหนะแต่ละประเภทรวมทั้งจัดให้มีการเว้นระยะห่าง
การมีระบบระบายอากาศที่ดี การแวะพักตามช่วงเวลา รวมทั้งการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ทางราชการ
กำหนดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของยานพาหนะและสภาพการเดินทำาง นอกจากนี้
ให้จัดบริการขนส่งสาธารณะที่เพียงพอตามความจำเป็นและตามเวลาที่เหมาะสมในการเดินทางของประชาชนด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอำนวยความสะดวกเพื่อการขนส่งประชาชนเข้ารับวัคนและบริการทางการแพทย์
/ผู้ใดผ้าฝืน…
ผู้ใดฝ้าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา *๓ และมาตรา *๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ. ๒๕๕๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิด
ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ถุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในบรรตาประกาศและคำสั่งที่ได้ออกไว้ก่อนหน้านี้ให้มีผลบังคับใช้ใด้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่ง
ฉบับนี้ อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นซัไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่
สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา ๓0 วรรคสอง (๓)
แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๓๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒t๒๔
(นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม)
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี
ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดปทุมธานี