เหล่าทัพ-ตำรวจ

ทอ.เผยความจำเป็นในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน

วันที่ 9 มีนาคม 2565 พลอากาศตรี ประภาสสอนใจดี  โฆษกกองทัพอากาศ ได้เปิดเผยเหตุผลถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดซื้อเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนว่าตาม ... จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม . 2551 มาตรา 21 ระบุให้กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ  ในการป้องกันราชอาณาจักรและดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพอากาศตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

และตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาศักยภาพของประเทศด้านความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม    และแผนปฏิบัติการด้านการปกป้องอธิปไตย และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของกองทัพไทย ซึ่งกำหนดแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งระบุว่ากำลังทางอากาศต้องมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการเชิงรุกที่ได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม  และปฏิบัติการร่วมทั้งในและนอกประเทศ  โดยใช้ระบบเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations)

ทำให้กองทัพอากาศต้องเตรียมยุทโธปกรณ์ให้มีความพร้อม ทันสมัยมีศักยภาพทางทหารที่ทัดเทียมกับประเทศ รอบบ้าน

    ปัจจุบันเครื่องบินรบส่วนใหญ่ของกองทัพอากาศมีอายุการใช้งานมาอย่างยาวนาน ทำให้มีขีดความสามารถจำกัดในการปฏิบัติทางอากาศและส่วนใหญ่จะเริ่มทยอยปลดประจำการตั้งแต่ .. 2564 จนถึงพ. 2574 โดยใน .. 2575  กองทัพอากาศจะคงเหลือเครื่องบินขับไล่โจมตีต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถของกำลังรบทางอากาศลดลง จนไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ และยังต้องแบกรับภาระการส่งกำลังและซ่อมบำรุงเครื่องบินรบจำนวนมาก  ที่มีอายุการใช้งานสูงถึง 28 –  54 ปี          จึงจำต้องพัฒนาและจัดหายุทโธปกรณ์ที่จำเป็นและเพียงพอต่อหน้าที่  ในการเตรียมการใช้กำลังทางอากาศ  โดยคำนึงถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม  และสอดคล้องกับสถานภาพงบประมาณของกองทัพอากาศ  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ  รองรับแผนปฏิบัติการของกระทรวงกลาโหม และกองทัพไทย

ดังนั้น กองทัพอากาศได้พิจารณาความคุ้มค่าในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี  โดยมุ่งเน้นคุณภาพเหนือปริมาณเพื่อเป็นการป้องปรามและรู้ผลแพ้ชนะในการใช้กำลัง  รวมทั้งสามารถทวีกำลัง  และเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพตลอดจนสร้างความมั่นคงกับประเทศในภูมิภาค

โฆษกกองทัพอากาศได้ชี้แจงต่อว่า กองทัพอากาศจึงต้องจำเป็นในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีสมรรถนะสูง  ยุคทึ่ 5  มาทดแทนเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบเดิมที่ล้าสมัย อันจะก่อให้เกิดความได้เปรียบของกำลังทางอากาศ ในการผนึกกำลังป้องกันประเทศ  (United Defense)  สนับสนุนการปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่นและยังเป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ในการป้องปราม (Deterrence)  หรือการป้องกันเชิงรุก (Active Defense)    ตลอดจนสามารถร่วมปฏิบัติการทางทหารตามหลักคิดการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงร่วมกับมิตรประเทศในภูมิภาคได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า