*รัฐต้องกระจายอำนาจด้านพลังงานเพื่อลดต้นทุนในการดำรงชีพให้ประชาชน*
“พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง”
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ ให้ข้อมูลเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2564 ถึงกรณี สาธารณูปโภค ที่รัฐธรรมนูญ กำหนดให้สัดส่วนการผลิตของรัฐต้องไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด (มาตรา 56 วรรคสอง) ที่เกี่ยวกับสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ และพลังงาน ที่รัฐต้องดูแลถือเป็น “รัฐสวัสดิการ” ที่เป็นหลักประกันให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
“จึงเสนอและผลักดันให้รัฐควรจะเร่งออกนโยบายมาช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ลดค่าไฟฟ้าที่รัฐขายให้ประชาชน ลดลงเหลือราคา 2.0-2.5 บาท/หน่วย ซึ่งจะสอดคล้องกับกรณีผู้ตรวจการแผ่นดินได้วินิจฉัยว่า กระทรวงพลังงานกำหนดนโยบายและแผนพัฒนากำลังการผลิตโดยให้เอกชนเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า ทำให้สัดส่วนกำลังการการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดต่ำกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด ขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 56 วรรคสอง คำวินิจฉัยข้อร้องเรียนเลขที่แดงที่1030/2562 ลง 25 พฤศจิกายน 2562 แต่หลังจากมีคำวินิจฉัยแล้วถึงปัจจุบันรัฐยังไม่ดำเนินการแก้ใขทั้งที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐบาลถูกกล่าวหาว่าเอกชนผู้ขายไฟฟ้ารายใหญ่ที่เป็นพวกพ้องของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีบางท่าน“
ทั้งที่ ข้อเท็จจริงพบว่า การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ) ผลิตไฟฟ้าเพียง 35.27 % ส่วนที่เหลือชื้อจากภาคเอกชน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 31.33 % โรงงานขนาดเล็ก 20.82 % ซื้อจากเอกชนต่างประเทศ 12.58% ดังนั้น การที่รัฐซื้อไฟจากเอกชน หรือสัมปทานเอกชนเกินกว่า 51 % จึงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
“รัฐได้ซื้อไฟฟ้าจากเอกชนในราคาแพงโดยมีอายุรับซื้อถึง 25 ปี ทำให้เอกชนที่ขายไฟให้รัฐบาลมีกำไรมาก ๆ ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีอย่างรวดเร็ว จากการตรวจสอบรัฐซื้อไฟฟ้ากับเอกชนที่ผลิตไฟฟ้าเป็น 2 ส่วน คือ ค่า ADDER ที่เอกชนลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าและผลักภาระเป็นค่าไฟให้ประชาชนที่เรียกว่าค่า FT พบว่าสัมปทานกับเอกชนบางสัญญาในช่วงแรกๆ ได้ค่าADDER ราคา 8 บาท/กิโลวัตต์–ชั่วโมงและค่าไฟพื้นฐาน 3 บาท ทำให้รัฐบาลซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนในราคาแพงที่บางสัญญาราคาสูงประมาณ 11 บาท ก็มี“พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง ระบุ