ในประเทศ

กรมทางหลวง จัดประชุมสรุปผลการศึกษาปรับปรุงถนนทางเลี่ยงเมืองพิบูลมังสาหาร ขยาย 4 ช่องจราจร แก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในเมือง

วันนี้ (7 กันยายน 2566) เวลา 09.00 . ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นายบดินทร์ เกษมศานติ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางเลี่ยงเมืองพิบูลมังสาหาร โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลสรุปการศึกษาโครงการ ครอบคลุมผลการศึกษาด้านวิศวกรรมและจราจร ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษาของโครงการพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาประกอบการจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาโครงการให้มีความสมบูรณ์ต่อไป โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม

สำหรับการจัดประชุมในครั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้นำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการ โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้ สำหรับพื้นที่โครงการตั้งอยู่บริเวณอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี แนวทางเลือกที่เหมาะสม มีจุดเริ่มต้นโครงการบนทางหลวงหมายเลข 217 บริเวณ กม.37+041.451 แนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศใต้ และมีแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก (ด้านใต้บ้านคำเม็ก) ตัดกับถนนสายหลัก คือ ทางหลวงหมายเลข 217 ช่วงที่มุ่งหน้าไปยังอำเภอสิรินธร (ด้านใต้บ้านยอดดอนชี) และมุ่งหน้าต่อไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับทางหลวงชนบท อบ.4038 (ถนนพิบูล) บริเวณบ้างแก่งเจริญ และข้ามแม่น้ำมูล มุ่งหน้าต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศเหนือบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 2222 บริเวณ ช่วง กม.27+897.888 จุดสิ้นสุดโครงการรวมระยะทาง 13.497 กิโลเมตร โดยรูปแบบการพัฒนาถนนโครงการ แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้


1.
รูปแบบทั่วไปของถนนโครงการ กำหนดเขตทางหลวงกว้าง 60 เมตร ออกแบบเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร (ไปกลับ) แบ่งทิศทางจราจรด้วยเกาะกลางแบบกดเป็นร่อง(Depressed Median)

2. รูปแบบทางแยก มีการออกแบบจุดตัดทางแยก จำนวน 3 แห่ง ดังนี้

  1. ทางแยกต่างระดับบริเวณจุดเริ่มต้นโครงการ บนทางหลวงหมายเลข 217 บริเวณกม.37+041.451 ออกแบบเป็นทางแยกต่างระดับแบบสามแยกมีทางลาดเชื่อม(Trumpet-Interchange) บนจุดตัดระหว่างถนนโครงการกับทางหลวงหมายเลข 217 ออกแบบเป็นสะพานหลักเป็นรูปแบบทางลาดแบบต่อเชื่อมโดยตรง (Directional Ramp) เพื่อรองรับรถที่ต้องการเดินทางจากอำเภอวารินชำราบไปอำเภอสิรินธร ทำให้การเดินทางผ่านทางแยกได้อย่างอิสระ ไม่ตัดกระแสจราจร ส่วนการเดินทางจากอำเภอสิรินธรเพื่อเข้าไปยังอำเภอพิบูลมังสาหารออกแบบเป็นทางต่างระดับรูปแบบทางลาดแบบช่องวงเลี้ยว (Loop Ramp)

2. ทางแยกต่างระดับบริเวณจุดตัดบนทางหลวงหมายเลข 217 (ด้านทิศใต้) บริเวณกม.44+820.791 ออกแบบเป็นสะพานยกระดับข้ามทางหลวงหมายเลข 217 (Overpass Bridge) เพื่อรองรับรถที่ต้องการเดินทางจากอำเภอวารินชำราบไปอำเภอโขงเจียม นอกจากนี้ยังออกแบบเป็นรูปแบบทางลาดแบบช่องวงเลี้ยว (Loop Ramp) เพื่อรองรับรถที่ต้องการเลี้ยวขวา ยกเว้นทิศทางจากอำเภอพิบูลมังสาหารเลี้ยวขวาไปอำเภอวารินชำราบ ออกแบบเป็นทางลาดแบบต่อเชื่อมโดยตรง (Directional Ramp) ทำให้การเดินทางผ่านทางแยกได้อย่างอิสระโดยไม่ตัดกระแสจราจร

   3. ทางแยกต่างระดับบริเวณจุดสิ้นสุดโครงการ บนทางหลวงหมายเลข 2222 บริเวณกม.27+897.888 ออกแบบเป็นสะพานยกระดับ (Overpass Bridge) และวงเวียนระดับพื้น (At-Grade Roundabout) โดยเป็นสะพานยกระดับ บนทางทางหลวงหมายเลข 2222 เพื่อรองรับรถที่ต้องการเดินทางจากอำเภอพิบูลมังสาหารไปอำเภอโขงเจียมและทางแยกระดับพื้นเป็นลักษณะวงเวียน เพื่อรองรับรถเลี้ยวขวาทุกทิศทาง

   3. รูปแบบสะพานข้ามแม่น้ำมูล ออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำมูล มีขนาดสะพานหลัก(Main Bridge) 4 ช่องจราจร โดยฝั่งบ้านแก่งเจริญจะมีทางขึ้นลงสะพานข้างละ 1 ช่องจราจร เพื่อเชื่อมกับถนนทางหลวงชนบท อบ.4038

    4. รูปแบบบริเวณจุดกลับรถโครงการ จุดกลับรถ (U-turn) ของโครงการมีทั้งหมด10 ตำแหน่ง เป็นรูปแบบจุดกลับรถใต้สะพาน (U-turn) ช่องลอดความสูง 5.50 เมตร

    ทั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ดำเนินการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ ครอบคลุมทุกกิจกรรมการก่อสร้าง พร้อมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรอบโครงการให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

ภายหลังการประชุมในครั้งนี้ บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ของกรมทางหลวง จะดำเนินการรวบรวมข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการจัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาโครงการให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี ..2571 และสามารถเปิดให้ใช้บริการได้ประมาณปี..2574  โดยใช้งบประมาณการก่อสร้างประมาณ 2,640 ล้านบาท โดยผู้สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการฯ ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่1.เว็บไซต์  www.phibunmangsahanbypass.com  และ 2.Line : phibunmangsahanbypass

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า