ศาสนา-ศิลปวัฒนธรรม

“รางวัลโพธิคยานาคาธิบดี (BodhigayaNagadhipati Award) ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567”

เมื่อเวลา 14.00 .วันที่ 1 สิงหาคม 2567 สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ร่วมกับคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มูลนิธีวีระภุยงค์ จังหวัดกระบี่องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่  ททท.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกระบี่

สนับสนุนโดย มูลนิธีวีระภุยงค์ จังหวัดกระบี่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่  จัดแถลงข่าว

รางวัลโพธิคยานาคาธิบดี (BodhigayaNagadhipati Award)

ครั้งที่ 2 ประจำปี ..2567″

บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด (ห้องประชุม ชั้น 7)

โดยคร.วินัย วีระภูธงค์ ประธามที่ปรึกษากิดติมศักดิ์ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980

ประธานมูลนิธิวีระภุชงค์ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

ชมวีดิทัศน์ รางวัลโพธิคยานาคาธิบดี (BodhigayaNagadhipati Award)

คร.อภัย จันทนจุลกะ ประธานคณะกรรมการรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี

จากนั้น นายอภัย จันทนจุลกะ ประธานคณะกรรมการรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี

ดร.อภัย จันทนจุลกะ ประธานคณะกรรมการรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งในการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลนั้นทางคณะกรรมการรางวัล ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหลายสาขา ทั้งคณะสงฆ์และฆราวาส ได้พิจารณาและมีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะถวายและมอบรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี จำนวน 14 รางวัลจาก 3 สาขา  คือ สาขาส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา สาขาพุทธศิลป์ และสาขาสื่อมวลชนเพื่อพระพุทธศาสนา ให้แก่บุคคล คณะบุคคล และองค์กร  โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการยกย่อง เชิดชูเกียรติ ให้กำลังใจแก่บุคคล คณะบุคคล และองค์กร ที่ได้อุทิศตนทำงานด้านการสนับสนุน ส่งเสริม เผยแผ่ และปกป้องพระพุทธศาสนา ด้วยผลงานที่ได้รับการยกย่องเป็นที่ประจักษ์ ผ่านการพิจารณาจากหลักเกณฑ์การให้รางวัล  คือ  เป็นผู้อุทิศทุ่มเทเลียสละในการทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา เพื่อหนุนเสริมการเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนา มีผลงานเป็นที่รับรู้และมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการสนับสนุนส่งเสริมการเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนา หรือมีผลงานที่เกี่ยวข้องกับองค์พญานาคที่มีความโดดเด่นซึ่งทำต่อเนื่องกันเป็นเวลายาวนาน หรือ เป็นองค์กรที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา

พระเมธีวรญาน คณบดีคณะพุทธศาตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.)กล่าวถึง ความสำคัญของรางวัล เพราะพญานาคอยู่ในความสนใจของคนทั้งประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เห็นได้จากการจัดโครงการธรรมยาตราในดินแดนลุ่มน้ำโขง ได้เห็นความเชื่อในเรื่องเดียวกัน ทางสถาบันโพธิคยาฯและมจร.จึงได้ทำวิจัยเรื่องพญานาค 5 ประเทศลุ่มน้ำโขง ซึ่งแม้มีคนเห็นแย้งว่าอาจทำให้คนเชื่อในทางที่ผิด แต่ถือเป็นโอกาสอันดีในการใช้เรื่องพญานาคสื่อสารนำทางให้คนสนใจพระพุทธศาสนา และเข้าถึงธรรมได้ เพราะในอดีตพระพุทธเจ้าก็เคยเสวยพระชาติเป็นพญานาค ซึ่งจะช่วยเป็นแรงหนุนเสริมให้คนทำความดีมากขึ้น เพราะต่างมีแม่น้ำโขงหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตและเป็นจุดร่วมเดียวกัน จากความสำเร็จของงานวิจัยเป็นที่มาของรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี ที่จะขยายผลเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ร่วมกับสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ให้มีความมั่นคงและแน่นแฟ้นมากขึ้น และให้เกิดความยิ่งใหญ่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

*แจ้งวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกผู้รับรางวัลรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี

งานแถลงข่าวรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี ผู้ร่วมแถลงข่าวประกอบด้วย

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา

กระบี่ประตูอารยธรรมศักดิ์สิทธิ์ พญาภูธงค์นาคราช เชิดชุมหารายแห่งธรรม

มีผู้ร่วมแถลงข่าวอาทิ ดร.สุภชัย วีระภชงค์ เลยาธิการสถาบันโพธิคยาฯความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นความเชื่อที่มีในทุกทวีปทั่วโลก  ประกอบกับโพธิคยาหมายถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าให้พุทธบริษัท4” มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์พญานาค”  ในมิติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเสวยชาติเป็นองค์พญานาคราช

สำหรับการจัดงานมอบรางวัลโพธิคยานาคาธิบดีครั้งที่ 2 ที่จังหวัดกระบี่

เลขาธิการสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 อธิบายว่า จากการทำวิจัยคณะพุทธศาสตร์มจร.มีความเชื่อทางกายภาพว่ามีเขาหงอนนาค” “น้ำตานาค” “ สะดือนาค” “โครงนาคและมีเกาะพญานาคจึงเห็นสมควรจัดพิธีมอบรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี ครั้งที่2 ขึ้นที่จังหวัดกระบี่ โดยได้รับการสนับสนุนจากนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะจัดให้มีการมอบรางวัลโพธิคยานาคาธิบดีต่อเนื่องกันต่อไปทุกปี

โครงการมอบรางวัลโพธิคยานาคาธิบดีครั้งที่ 2 ยังเป็นการต่อยอดจากความสำเร็จของโครงการธรรมยาตราครั้งที่ 3 “มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอัครสาวกทั้งสอง พระมหาโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร ที่อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวที่ประเทศไทย ทั้งที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ ,เชียงใหม่ ,อุบลราชธานี และจังหวัดกระบี่ เป็นความร่วมมือของ อินเดีย ไทย และศรีลังกา โดยมีเป้าหมายให้เอเซียเป็นศตวรรษแห่งธรรม

พระเมธีวรญาณ ..9 ผศ.ดร. คณบดีคณะพุทธศาสตร์ มจร กล่าวว่าพระเมธีวรญาณคณบดีคณะพุทธศาสตร์ มจร.กล่าวถึงกรอบความร่วมมือทางวิชาการทางพุทธศาสนาของ

คณะพุทธศาสตร์ มจร.และสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ว่าได้มีการจัดทำงานวิจัยเรื่องพญานาคเพราะประเทศเพื่อนบ้านล้วนสนใจเรื่อง

พญานาคจากจุดร่วมในการจัดงานธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน 2 ครั้ง

คือ ไทย ,สปป.ลาว ,เวียดนาม , กัมพูชาและเมียนมา  จึงเกิดโครงการทำวิจัยเรื่องพญานาคใน 5 ประเทศ  โดยอาศัยพญานาคสื่อสารให้คนเข้าถึงธรรมะ  เพราะพระพุทธเจ้าก็เคยเสวยชาติเป็นองค์พญานาค

เมื่อโครงการวิจัยเรื่องพญานาคในประเทศไทยเสร็จเรียบร้อยจึงนำมาสู่การมอบรางวัลโพธิคยานาคาธิบดีครั้งที่ 2 หลังจากเคยจัดงานมอบรางวัลโพธิคยานาคาธิบดีครั้งแรกไปแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่จังหวัดมุกดาหาร

กรอบความร่วมมือทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา

และรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี

นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา ผู้ว่ารายการจังหวัดกระบี่

ความพร้อมและการสนับสนุนของจังหวัดกระบี่

นางสาวปภาพินท์ วีระภุชงค์ กรรมการมูลนิธิวีระภุชงค์  กล่าวว่า กล่าวว่า ยินดีที่ได้สนับสนุน งานนี้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ พญานาคค่อยปกป้องพระพุทธศาสนา ยินดีกับผู้ได้รับรางวัล ขออุนโมทนา

การสนับสนุนรางวัลโพธิคยานาคาธิบดี

นางสาวอันนา สุขสุกรี พิธีกร

รายนามผู้รับรางวัลโพธิคยานาคาธิบดีฯ (BodhigayāNāgādhipati Award) จำนวน 14 รางวัล จาก 3 สาขา คือ สาขาส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา สาขาพุทธศิลป์ และสาขาสื่อมวลชนเพื่อพระพุทธศาสนา ดังนี้

สาขาส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ประเภทบุคคล 11 รูป/คน

พระพรหมวชิราธิบดี (พีร์ สุชาโต) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร

พระพรหมวชิรนายก (โอภาส นิรุตฺติเมธี) เจ้าอาวาสวัดนารายณ์มหาราช วรวิหาร

พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร) เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา ราชวรวิหาร

พระพรหมสิทธิ์ (ธงชัย สุขญาโณ) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

พระพรหมวัชรธีราจารย์ (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระเทพวชิรากร (พิศาล ปุรินฺทโก) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุวชิรมงคล

พระวชิรกิจโกศล (สุดใจ นิสฺโสโก) เจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม พระอารามหลวง

Most Venerable Banagala Upatissa Thero, President of Mahabodhi Society of Sri Lanka,

Chief Incumbent-Sanchi Chethiyagiri Viharaya, India

H.E. Mr. Nagesh Singh เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย

นายสมศักดิ์ กิตติธรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี

นายนิวัตน์ แจ้งอริยวงศ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท เอเวอร์กรีน ชิปปิ้ง เอเยนซี่(ประเทศไทย) จำกัด


สาขาพุทธศิลป์
ประเภทองค์กร 1 องค์กร

อาจารย์วีรพงษ์ นาคะวัณณัง คณะธรรมบุญนาคธาตุต์

สาขาสื่อมวลชนเพื่อพระพุทธศาสนา ประเภทบุคคล 1 คน ประเภทองค์กร 1 องค์กร

นายสมชาย กรุสวนสมบัติ (ซูม) คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

รายการโทรทัศน์ สามเณรปลูกปัญญาธรรม หน่วยงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์  บมจ. ทรู

นางเนตรชนก วิภาตะศิลปิน นางเพ็ญสินี ดำรงธรรม)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า