ศาสนา-ศิลปวัฒนธรรม

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

#วิธีถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์
ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นsee
ภุตฺตา โภคา ภตา ภจฺจา      วิติณฺณา อาปทาสุ เม
อุทฺธคฺคา ทกฺขิณา ทินฺนา    อโถ ปญฺจ พลี กตา
อุปฏฺฐิตา สีลวนฺโต             สญฺญตา พฺรหฺมจารโย ๒-
ยทตฺถํ โภคมิจฺเฉยฺย            ปณฺฑิโต ฆรมาวสํ
โส เม อตฺโถ อนุปฺปตฺโต     กตํ อนนุตาปิยํ ฯ
เอตํ อนุสฺสรํ มจฺโจ              อริยธมฺเม ฐิโต นโร
อิเธว นํ ปสํสนฺติ                 เปจฺจ สคฺเค ปโมทตีติ ๓- ฯ

         หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช
๑. #อาทิยสูตร


#ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
[๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า คหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้
ประโยชน์ ๕ ประการนี้ อะไรบ้าง คือ
๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมบำรุงตนเอง บำรุงมารดาบิดา บำรุงบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ให้เป็นสุข บริหารให้เป็นสุขโดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บ
รวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม๑- นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๑
๒. อริยสาวกย่อมบำรุงตนเองบำรุงมิตรและอำมาตย์ให้เป็นสุข บริหารให้เป็นสุขโดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๒
@เชิงอรรถ :
@๑ ได้มาโดยธรรม ในที่นี้หมายถึงได้มาโดยไม่ล่วงละเมิดกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๔๑/๒๔)

             ๓. อริยสาวกย่อมป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โจร คนที่ไม่ชอบกัน หรือจากทายาท ทำตนให้ปลอดภัย นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๓
๔. อริยสาวกย่อมทำพลี๑- ๕ อย่าง คือ (๑) ญาติพลี (๒) อติถิพลี(๓) ปุพพเปตพลี (๔) ราชพลี (๕) เทวตาพลี นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการที่ ๔
๕. อริยสาวกย่อมตั้งทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดีมีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ในสมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจากความมัวเมาและความประมาท ดำรงมั่นอยู่ในขันติ (ความอดทน) และ
โสรัจจะ (ความเสงี่ยม) ฝึกอบรมตน ทำตนให้สงบ ทำตนให้ดับเย็นสนิท ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรเก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์


ประการที่ ๕
คหบดี ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล
ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์
หมดสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป’ ด้วยเหตุนี้ อริยสาวกนั้นจึงไม่มีวิปปฏิสาร (ความร้อนใจ) ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์จากโภคทรัพย์๕ ประการนี้ โภคทรัพย์เพิ่มพูนขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราถือ
@เชิงอรรถ :
@๑ พลี (พะลี) หมายถึงการสงเคราะห์ บวงสรวง น้อมให้ หรือส่วย มี ๕ อย่าง คือ (๑) ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
@(๒) อติถิพลี ต้อนรับแขก (๓) ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย (๔) ราชพลี ถวายเป็นของหลวงมีเสีย
@ภาษีอากรเป็นต้น (๕) เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๑/๓๕๓)

             เอาประโยชน์จากโภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เพิ่มพูนขึ้น’ อริยสาวก
นั้นย่อมไม่มีวิปปฏิสารด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการนี้เลย
นรชนผู้จะต้องตายเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า
‘โภคทรัพย์ เราได้บริโภคแล้ว
คนที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว
อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว
ทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เราได้ให้แล้ว
และพลี ๕ อย่าง เราได้ทำแล้ว
ท่านผู้มีศีลสำรวมระวัง ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว
ประโยชน์ที่บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนปรารถนา เราก็ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
กรรมที่ไม่ก่อความเดือดร้อนในภายหลัง เราก็ได้ทำแล้ว’
ชื่อว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้
เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
อาทิยสูตรที่ ๑ จบ

                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๔-๖๖.
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=41

อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :-
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=1001&Z=1054
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=41

#อรรถกถาอาทิยสูตรที่ ๑
พึงทราบวินิจฉัยในอาทิยสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โภคานํ อาทิยา ได้แก่ เหตุแห่งโภคะทั้งหลายที่พึงถือเอาประโยชน์.
บทว่า อุฏฐานวิริยาธิคเตหิ ได้แก่ ที่ได้มาด้วยความขยันหมั่นเพียร.
บทว่า พาหาพลปริจิเตหิ ได้แก่ ที่สะสมไว้ด้วยกำลังแขน.
บทว่า เสทาวกฺขิตฺเตหิ ได้แก่ ที่อาบเหงื่อได้มา.
บทว่า ธมฺมิเกหิ คือ ประกอบด้วยธรรม.
บทว่า ธมฺมลทฺเธหิ ได้แก่ ไม่เสียกุศลธรรม ได้มาโดยธรรม.
บทว่า ปิเณติ ได้แก่ กระทำให้อิ่มหนำสำราญ.
บทที่เหลือในสูตรนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในจตุกกนิบาต.

               จบอรรถกถาอาทิยสูตรที่ ๑

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า