สังคม-สตรี-เยาวชน

สมาคมรักษ์แผนไทย ร่วมกับเครือข่ายแพทย์แผนไทยและสมุนไพร มีพล.ร.อ. ชาญชัย เจริญสุวรรณ

นายกองตรีธงชัย สุคนธนาภิรมย์ พัทลุง, หมอนัยนันท์  ว่องทศวัสดิ์  แพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านจังหวัดชลบุรี, นางกาญจนันท์ คงสาโรจน์, นายพณณกร สอนจ้อย นพ. พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา และนพ. อรรถพล สุคนธนาภิรมย์ณพัทลุง ได้เข้าพบ ดร. โฆษิต สุวินิจจิต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีสมศักดิ์ เทพสุทิน เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนา วิชาชีพการแพทย์แผนไทย และสมุนไพรไทย เช่น การถ่ายทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านไม่ให้สูญหาย การสร้างมาตรฐานการนวดไทยในต่างประเทศ การแสดงสรรพคุณยา แผนไทยให้ครอบคลุมประสิทธิภาพที่แท้จริง เช่น ยาจันทลีลา ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพิ่มการแก้ปวดศีรษะ จากเดิมแสดงได้เพียง แก้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู เป็นตัน เพิ่มรายการสมุนไพรเพื่อสุขภาพแบบจดแจ้ง มากขึ้น และผลักดันการวิจัยยาแผนไทย ให้สามารถขึ้นทะเบียนง่าย ลดขั้นตอนให้รวดเร็วขึ้น

การนำเสนอทั้งหมดมุ่งหวังเพื่อสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ และสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติไทยส่วนรวม

หมอนัยนันท์  ว่องทศวัสดิ์ กล่าวว่า ต้องขอขอบพระคุณท่านรัฐมนตรีสมศักดิ์เทพสุทินและผู้มีเกียรติทุกท่านที่เสียสละเวลาและเปิดโอกาสให้หมอนัยนันท์ ว่องทศวัสดิ์  แพทย์แผนไทยหมอพื้นบ้านจังหวัดชลบุรีได้มาพูดในวันนี้

ในฐานะที่เป็นหมอพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยหมอมองเห็นว่าวิกฤตของหมอพื้นบ้านส่งผลกระทบต่อแพทย์แผนไทยของเราเป็นอย่างมาก

     วิกฤตหมอพื้นบ้านขาดการถ่ายทอดไม่ได้ถูกดูแลโดยภาครัฐเท่าที่ควรทำให้ขาดบุคลากรที่มีคุณภาพและภูมิปัญญาที่รู้จริงถึงแก่นแท้ของการรักษาด้วยสมุนไพรไทยภูมิปัญญาไทย

ซึ่งวิกฤตดังกล่าวข้างต้นสืบเนื่องมาจาก

ยังขาดศูนย์กลางการรวบรวมความรู้และภูมิปัญญาในการสืบสานองค์ความรู้วิธีการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีตัวอย่างเช่นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาเกี่ยวกับพิษงูหรือแผนไทยเราเรียกว่าหมองูเป็นการรักษาโดยการไม่ใช้เซรุ่มใช้สมุนไพรไทยทำให้มีชีวิตรอด   อวัยวะอยู่ครบไม่ต้องตัดทิ้งซึ่งถือว่าเป็นการลดอัตราการเสียชีวิตและการทุกข์ทรมานของผู้ป่วย

ลดภาระค่าใช้จ่ายไม่เป็นภาระของครอบครัว

หรือการรักษาโรคริดสีดวงทวารด้วยสมุนไพรไทยไม่ต้องผ่าตัดหรือการรักษาตาต้อชนิดต่างๆไม่ต้องผ่าตัด

จึงใคร่ขอความร่วมมือจากภาครัฐในเรื่องการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญาเพื่อหมอพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยเป็นการแรกเปลี่ยนความรู้ด้านการรักษาและการใช้สมุนไพรไทยการจัดสัมนาหรือฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะให้ทันต่อโรคภัยเช่นโควิดที่ผ่านมา

ยาไทยเป็นที่ประจักษ์ให้เห็นแล้วว่ารักษาโรคได้จริงหากแต่น่าเสียดายที่องค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยกระจัดกระจายไม่มีการรวบรวมข้อมูลทำให้ขาดการพัฒนาต่อยอด

การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านการแพทย์แผนไทย ให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาแพทย์แผนไทยรุ่นใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ในการรักษาจากหมอพื้นบ้าน   ที่จัดตั้งขึ้นอีกทั้งยังเป็นการให้โอกาสประชาชนหน่วยงานต่างๆนักเรียนนักศึกษาจากที่อื่นหรือผู้ที่มีความสนใจในพืชสมุนไพรได้เข้ามาเรียนรู้การรักษา แบบดั้งเดิมจากผู้รู้จริง

จุดมุ่งหมายในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญา หมอพื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยคือ

1  เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้

2  เชิดชูเกียรติบุคลากรหมอพื้นบ้านแพทย์แผนไทยที่มีประสบการณ์มายาวนานให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

3 เปิดพื้นที่ให้คนในอาชีพเดียวกันแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น

4 ยกระดับหมอพื้นบ้านการแพทย์แผนไทยอยากให้มีเกียรติบัตรรับรองจากภาครัฐ

5  เป็นการเพิ่มบุคลากรหมอพื้นบ้านยังยืน

ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ดิฉันแพทย์แผนไทยนัยนันท์  หมอพื้นบ้านชลบุรีพร้อมเป็นตัวแทนในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งภาคตะวันออกเพื่อให้งานนี้สำเร็จและเกิดขึ้นได้จริงหรือหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านรัฐมนตรีและภาครัฐจะเล็งเห็นความสำคัญและให้ความอนุเคราะห์เพื่อให้ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านแพทย์แผนไทยยังคงอยู่คู่คนไทยอย่างยั่งยืนจนถึงลูกหลานสืบไปค่ะ หมอนัยนันท์  กล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า