หลักธรรมะ วันมาฆะ คือคำสอน เพื่อสันติภาพ
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นวันมหามงคลวันหนึ่ง นอกจากเป็นวันมาฆบูชาแล้ว ยังเป็นวันที่รัฐบาลอินเดีย ไทยและสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เชิญพระบรมสารีริกธาตุ (ของจริง) พระอรหันตธาตุ ของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ จากอินเดีย มาประดิษฐานในไทยระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึง 18 มีนาคม 2567 เพื่อร่วมฉลองในพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งตรงกับวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 และให้ประชาชนบูชา เพื่อความเป็นมงคล
ในการแถลงข่าวเรื่องการเสด็จพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ ของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ นั้น เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.กระทรวงวัฒนธรรม และสุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ สถาบันโพธิคยาวิชาลัย980 ผู้ประสานงานระหว่างรัฐบาลอินเดีย กับกระทรวง วัฒนธรรม ของไทย ได้กล่าวว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ที่พระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุมาจากอินเดียพร้อมกัน และประดิษฐานที่เดียวกัน
จึงขอเชิญประชาชนบูชาตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม ตั้งแต่เวลา 9.00 น.ถึง 20.00 น.และจะมีสวดมนต์ ภาวนา ในตอนค่ำทุกวัน ณ มณฑลท้องสนามหลวง
อานิสงส์ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ
ผู้บูชาพระบรมสารีริกธาตุได้อานิสงส์
1)เสวยสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
2) เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
3) ไม่ไปเกิดในทุคติ
4) เสวยสมบัติในมนุษย์โลก
5) ได้บรรลุปฏิสัมภิทา
6) จะบรรลุนิพพาน
“อานิสงส์บูชาพระสารีริกธาตุเกิดทันตา”
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูสร้างสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่กรุงราชคฤห์ นั้น หญิงชราผู้หนึ่ง ทราบได้เกิดศรัทธา จึงหาดอกบวบขม ได้4 ดอก เดินทางไปยังสถูปด้วยจิตตั้งมั่นว่าจะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
ขณะที่เดินทางไปนั้น ได้เกิดอุบัติเหตุ ถึงแก่ความตาย เมื่อวัวแม่ลูกอ่อนมาขวิดโดยไม่ทันระวังตัว
เพราะจิตเลื่อมใส ศรัทธา จะไปบูชา พระบรมสารีริกธาตุเท้านั้น ส่งผลให้ไปเกิดในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทพธิดาอยู่ในปราสาทสีเหลืองอร่าม
ท้าวสักกะเทวราช เห็นแล้วได้แต่แปลกใจ จึงสอบถามว่าทำบุญอะไรมา จึงได้ทิพยสมบัติเช่นนี้ เมื่อทราบว่าแค่ตั้งใจ ก็มีอานิสงส์มากขนาดนี้
ถ้าได้บูชาจริง จะมีอานิสงส์ ขนาดไหน
จึงตรัสกับมาตลีเทพบุตรว่า ควรไปบูชา พระเขี้ยวแก้ว ที่จุฬามณี ที่ตั้งบนสวรรค์ นั้น
หลักธรรมวันมาฆ
ส่วนหลักธรรมวันมาฆ นั้น ก็ให้ตั้งใจปฏิบัติ ตามโอวาทปาฏิโมกข์
คือ ไม่ทำบาปทุกประเภท ให้ทำแต่กุศลกรรม (กาย วาจา ใจ สุจริต)
และ ชำระจิตใจให้สะอาด (หลีกหนีกิเลส โลภ โกรธ หลง)
พร้อมกันนั้น ต้องมีอุดมการณ์ คือ1 มีความอดทน 2ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น และตนเอง 3 หาความสงบ 4 ทำพระนิพพานให้แจ้ง
ในขณะเดียวกัน ให้ยึดหลัเผยแผ่
คือเป็นบรรพชิต ต้องไม่ทำร้ายผู้อื่น
เป็นสมณะ ต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น
การไม่กล่าวร้าย
การไม่ทำร้าย ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ให้นั่งนอนในที่สงัด
และทำความเพียรในอธิจิต
หลักการนี้เรียกว้าหัวใจพระพุทธศาสนา สามารถสรุปรวมสั้นๆ คือศีล สมาธิ และปัญญา
ดังนั้นเมื่อถึงวันสำตัญของศาสนา ุถ้าชาวพุทธ น้อมนำหลักธรรม หรือ หัวใจพุทธศาสนา มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ความสงบสุข และสันติ ย่อมเกิดแก่ผู้ปฏิบัติ และสังคมอย่างไม่ต้องสงสัย
สมาน สุดโต รายงาน