ศาสนา-ศิลปวัฒนธรรม

ปฏิญญากรุงเทพฯ ครั้งที่ ๑๘ การประชุมวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก

พุทธปัญญาในการจัดการวิกฤติการณ์โลก

ระหว่างวันที่ มิถุนายน .. ๒๕๖๖/..๒๐๒๓

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยาและศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯประเทศไทย

เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ..๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศ ริเริ่มโดยประเทศศรีลังกา ได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติ ให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคมเป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติและสำนักงานประจำภูมิภาคต่างๆ

ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔) ดังนั้น วันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี ๒๕๔๓ ด้วยความร่วมมือของชาวพุทธทุกนิกาย

เพื่ออนุวัตรตามมติที่ประชุมสหประชาชาติ พวกเราจาก ๖๕ ประเทศและภูมิภาค จึงได้มาร่วมกันฉลองวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ระหว่างวันที่ มิถุนายน .. ๒๕๖๖/.. ๒๐๒๓ ตามประเพณีหลายปีที่ผ่านมา ถึงจะมีอุปสรรคขัดขวางในช่วงโควิดระบาดก็ตาม การประชุมครั้งนี้ จัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และรัฐบาลไทย ภายใต้คำแนะนำของสภาสากลวันวิสาขาบูชา สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานาชาติ และได้รับการสนับสนุนจากมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทยและขอบันทึกความชื่นชมยินดีอย่างสูงต่อ ฯพณฯ ดิเนศ คุณวัฒนะ นายกรัฐมนตรีประเทศศรีลังกา ที่แสดงปาฐกถาพิเศษเสนอข้อวิเคราะห์วิกฤติการณ์โลกที่มีลักษณะซับซ้อน ย้ำถึงสิ่งท้าทายภายหลังโรคโควิดในการป้องกันโรคระบาด จนถึงภาวะโลกร้อนและความขาดแคลนที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะต้องใช้พุทธปัญญาเรื่องปฏิจจสมุปบาท ดังที่ปรากฏอยู่ในเรื่องมัชฌิมาปฏิปทา กุสโลบาย และกรุณาที่ประกอบด้วยสติอันจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องทั่วทุกภาคส่วนสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในการประชุม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อยพระนครศรีอยุธยา และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ พวกเราได้พิจารณาเรื่องพุทธปัญญาในการจัดการวิกฤติการณ์โลกโดยใช้ข้อคิดเห็นและแนวทางจากประเพณีปฏิบัติที่แตกต่างกัน ในที่สุดแห่งการฉลองและการประชุมที่ประสบผลสำเร็จพวกเราได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า

1.โดยตระหนักถึงลักษณะความขัดแย้งในโลกว่ามีหลายมิติ เช่น บทบาทในสังคมความเกี่ยวพันกันของความรับผิดชอบในสังคมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จึงกระตุ้นรัฐบาลในโลกให้พิจารณาหาแนวทางที่ใช้ปฏิบัติได้และส่งเสริมให้ตระหนักถึงหลักปฏิจจสมุปบาทในการช่วยยุติความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองในโลก โดยเฉพาะชาวพุทธโลกควรหาทางส่งเสริมสันติภาพและความสมานฉันท์ทั่วทั้งโลก โดยใช้พุทธธรรมเรื่องอภัย อหิงสา เมตตาและขันติ รวมทั้งการทำงานอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยในการปรับท่าที่ของคนผู้ถูกความโลภ ความโกรธ และความหลงครอบงำ เพื่อสร้างสังคมแห่งกุศลธรรมสำหรับมนุษยชาติ

2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพภายในจิตใจของแต่ละคน โดยนำหลักสติปัฏฐานไปปฏิบัติกันทั่วทั้งโลก และใช้เป็นธรรมโอสถสำหรับทุกคน

3. เพื่อคงแนวคิดแบบมองโลกแง่ดีว่า ปัญหาในโลกถึงยากที่จะแก้ไขแต่ก็ไม่เป็นปัญหาที่แก้ไขยากโดยธรรชาติ แต่ที่เป็นเช่นนั้นเพราะคนเรามองหาวิธีแก้ไขปัญหาผิดที่ผิดทางต่างหาก พระพุทธศาสนาสอนให้มองข้ามเป้าหมายของการแก้ปัญหาแบบเพ้อฝันและแนะให้คนเราอยู่กับแนวปฏิบัติที่เป็นไปได้และดำรงอยู่บนฐานของความเข้าใจเกี่ยวกับอนิจจตาคือความไม่แน่นอน

4. เพื่อตัดสินใจเพิ่มความพยายามยิ่งขึ้นในการสร้างสันติภาพโลก โดยอาศัยการยกระดับการรับรู้ถึงข้อจำกัดที่ว่าสิ่งทั้งหลายต่างอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น เข้าใจสมุฏฐานของความรุนแรง และรับทราบปัญหาอันเนื่องมาจากความเห็นแก่ตัว

5. เพื่อปลูกฝังคุณค่าแห่งการยอมรับและเคารพลัทธิศาสนาอื่น ในฐานะเป็นขั้นตอนที่จำเป็นต่อความสามัคคีของคนในสังคม และการพัฒนาเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันโดยไม่ติดใจเรื่องความแตกต่าง และถึงจะแม้แตกต่าง แต่ก็ยังมีความเข้าใจและเคารพกัน

6. เพื่อกำหนดรู้ความทุกข์อันลึกซึ้งที่เกิดจากการใช้อาวุธสร้างความขัดแย้งและที่เกิดจากวิกฤติการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก มีผลกระทบทั้งทางกายและทางจิตใจและเพื่อกระตุ้นชาวพุทธจากทุกภาคส่วนให้ลงมือเผยแผ่พุทธธรรมสำหรับเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นตามวิถีของการฟื้นฟู โดยกำจัดความขาดแคลนด้วยกรุณาและกำจัดความวุ่นวายในสังคมด้วยปัญญา

7. เพื่อส่งเสริมความเคารพต่อสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ รวมทั้งสัตว์ พืช ที่มีชีวิตสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างแน่นแฟ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยตรงมากกว่าที่เราเคยทราบกันมาก่อน

8. เพื่อส่งเสริมการสนองตอบอย่างตื่นรู้ร่วมกันต่อวิกฤติการณ์ทางนิเวศวิทยา และความเสื่อมโทรมของสภาพอากาศ โดยใช้หลักคำสอนเรื่องอหิงสาและกรุณา ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่กับเทคโนโลยีในการลดแก๊สคาร์บอน

9. ตระหนักถึงความไม่แน่นอนของชีวิตในช่วงที่มีโรคระบาด จึงเน้นย้ำหลักการอิงอาศัยกันและกันของการดูแลรักษาทางด้านจิตใจและการช่วยเหลือทางด้านวัตถุด้วยมนุษยธรรม รวมทั้งการใช้วิธีการด้านเศรษฐกิจในโลกหลังโควิด

10. เพื่อแสดงความเห็นชอบอย่างยิ่งต่อโครงการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษ ที่ริเริ่มโดยมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย เพื่อเฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

ในที่สุดนี้ ขออนุโมทนาขอบใจผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และหวังว่าพวกเราจะทำงานกันหนักก่อนการประชุมวันวิสาขบูชาครั้งต่อไป

ปฏิญญากรุงเทพฯ เนื่องในวันวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ ๑๘ ประกาศ วันที่ มิถุนายน .. ๒๕๖๖

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า