ศาสนา-ศิลปวัฒนธรรม

การแถลงข่าวการจัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก”

วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ กันยายน ๒๕๖๕) เวลา ๑๔.๐๐ . นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในการแถลงข่าวการจัดนิทรรศการพิเศษ เรื่องเซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” The Endless Epic of Japanese -Thai Ceramic Relationship in the World’s Trade and Culture โดยมีนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ

อธิบดีกรมศิลปากร และ Dr. Ayako Yamamoto, Curator of the Kyushu Ceramic Museum ร่วมแถลงข่าว ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ประเทศไทย โดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่องเซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา  ๑๒สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมงานหัตถกรรมไทยจากวิถีพาณิชยวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่ระดับประเทศและสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซรามิกหรือเครื่องปั้นดินเผา และฉลองวาระครบรอบ ๑๓๕ ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น โดยนำโบราณวัตถุเครื่องเคลือบเซรามิกจากพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู ประเทศญี่ปุ่น และเครื่องปั้นดินเผาของไทยจากหลากหลายแหล่ง มาจัดแสดงร่วมกัน พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน ถึงวันที่ ๑๔ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เพื่อให้ชาวไทยได้รับความรู้ ความเข้าใจด้านโบราณคดีประวัติศาสตร์ และศิลปะของญี่ปุ่นโดยเฉพาะช่วงสมัยเอโดะ และสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างญี่ปุ่นและไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  

 

อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวถึงรายละเอียดของการจัดนิทรรศการพิเศษในครั้งนี้ว่า กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น ในการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางวัฒนธรรม และได้มีการเตรียมการจัดทำนิทรรศการร่วมกันกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดซากะ และพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู มาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๖๑ ปัจจุบันสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดซากะ และพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู    ได้อนุญาตให้กรมศิลปากรนำโบราณวัตถุเครื่องเคลือบดินเผา(porcelain) สำคัญจากจุดกำเนิดที่เมืองอาริตะ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน ๘๒ รายการ ๙๗ชิ้น มาจัดแสดงร่วมกับเครื่องปั้นดินเผาไทย จำนวน ๙๐ รายการ จากแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย และได้รับความร่วมมือนำโบราณวัตถุมาร่วมจัดแสดงจากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมบุตร และนายวราห์ โรจนวิภาต   

ซึ่งรังสรรค์พัฒนาสืบมาในประวัติศาสตร์จวบจนปัจจุบัน แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น หัวเรื่อง คือ

. น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรม

ราชชนนีพันปีหลวง: เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕

. วิวัฒนาการเซรามิกแห่งสองสายใย (ญี่ปุ่นไทย) ในโลกพาณิชยวัฒนธรรม

. ภูมิปัญญาชาวแหลมทองและชาวอาทิตย์อุทัย ในดินน้ำลมไฟ: “ปั้นดินทราย ฉาบไล้ด้วยน้ำ

นำผึ่งลม โหมฟืนไฟในเตาเผาบอกเล่าเรื่องราวภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของญี่ปุ่นและไทย

. สูงสุดแห่งภูมิปัญญา: ภาพฉายาในพาณิชยวัฒนธรรมโลก สะท้อนเรื่องราวการค้าศิลปะและ

วัฒนธรรมผ่านเครื่องปั้นดินเผาญี่ปุ่นและไทยที่ไปไกลยังต่างแดน

. แรงบันดาลใจไม่หยุดยั้งคือพลังสร้างสรรค์ใหม่ โดยสืบทอดวัฒนธรรมและพัฒนากระบวนการผลิต

สู่ความคิดใหม่

. สำรับคาวหวาน อาหารญี่ปุ่นไทย ผู้เข้าชมจะได้สัมผัสถึงวัฒนธรรมอาหารควบคู่กับภาชนะ

ที่มีบทบาทสำคัญมาแต่อดีต

 

โบราณวัตถุเครื่องปั้นดินเผาอาริตะชิ้นสำคัญจากพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชูประเทศญี่ปุ่น ที่นำมาจัดแสดง อาทิ เด็กชายจับปลาดุกด้วยน้ำเต้า ตกแต่งด้วยการเขียนสีบนเคลือบ พุทธศักราช ๒๒๑๓๒๒๕๒ จานลายครามแบบคารากขนาดใหญ่เขียนลายนกฟินิกซ์และตราวีโอซี พุทธศักราช ๒๒๓๓๒๒๖๒ ขวดทรงแปรงตีชาเขียนลายบนเคลือบ เป็นลายดอกโบตั๋น พุทธศักราช ๒๑๙๓๒๒๐๓ สำหรับโบราณวัตถุของไทย   ที่นำมาจัดแสดง อาทิ ชุดชามเบญจรงค์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ กระปุกสังคโลกสองหู พุทธศตวรรษที่ ๑๙๒๑ จากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กุณฑีสังคโลกพุทธศตวรรษที่ ๒๐๒๑ ได้จากการขุดค้นที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย

 

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่น ให้ผู้เข้าชมนิทรรศการได้ร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่

วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ . การบรรยายทางวิชาการ เรื่องเซรามิกแห่งแหลมทอง

และแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลกโรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก)

วันที่ ๑๔๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ กิจกรรมจากจังหวัดซากะ ได้แก่ เวิร์คช็อป (Workshop)

กิจกรรมลงสีเครื่องปั้นดินเผาอาริตะยากิ ทดลองลงสีบนจานอาริตะยากิ  ผู้ร่วมกิจกรรม๒๐ ท่านต่อวัน ซึ่งจาน   ที่ลงสีแล้วจะนําไปเผาอบให้สีอยู่ตัวก่อนจะมอบให้ผู้ร่วมกิจกรรมต่อไป กิจกรรมทําเครื่องประดับจากเศษกระเบื้องที่เกิดจากกระบวนการเผาเครื่องปั้นดินเผาอาริตะยากิ ผู้ร่วมกิจกรรม ๖๐ ท่านต่อวัน โดยสามารถเข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมท่านละ ครั้งเท่านั้น และยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมโบราณที่สืบทอดกันมาของญี่ปุ่น การจัดแสดงและจําหน่ายของดีจังหวัดซากะอีกด้วย

 

กิจกรรมเวิร์คช็อป (Workshop) จากสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้แก่ การขึ้นรูปชิ้นงานจาน ครั้งๆ ละ รอบ ในวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๕ วันที่ และ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕และการเขียนสีใต้เคลือบ ครั้งๆ ละ รอบ ในวันที่ และ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ และ ธันวาคม ๒๕๖๕ ผู้ร่วมกิจกรรมรอบละ ๓๐ ท่าน

 

นิทรรศการพิเศษ เรื่องเซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลกเปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ ๑๔กันยายน ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ พระที่นั่งศิวโมกขพิมานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันพุธอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐๑๖.๐๐ ปิดวันจันทร์อังคาร ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th

งานประชาสัมพันธ์

กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร

กรมศิลปากร (เทเวศร์) ชั้น ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทร. ๒๑๖๖ ๖๖๖๐, ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๓๐๔๑  โทรสาร  ๒๑๒๖ ๖๗๕๐

Email: [email protected]

htt://http://www.finearts.go.th/promotion/ , www.facebook.com/prfinearts

โดย อารามชรา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เอง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า