จังหวัดปทุมธานี แจ้งเตรียมพร้อม 24.ชม จาก 2 เขื่อน ปล่อยน้ำมา 7-10 ตค.64 เตือนระวังอาทิ แพร้านอาหาร รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ช่วงสองวันข้างหน้าเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับปริมาณน้ำรวมไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลทำให้ระดับน้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นอีก 30 ถึง 50 เซนติเมตร
นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ในฐานะผู้อำนวยการจังหวัด ออกประกาศแจ้งถึง ผู้อำนวยการอำเภอทุกอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี หลังได้รับแจ้งจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ มีประกาศแจ้งว่าได้ประเมินสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก พบว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ปริมาณน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,775 – 2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีและเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 ปริมาณน้ำหลากสูงสุดจากเขื่อนปาสักชลสิทธิ์ได้ไหลผ่านเขื่อนพระรามหกสูงสุดในอัตรา 762 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดจคาดว่าในวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ปริมาณน้ำหลากรวมกันผ่าน อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในเกณฑ์สูงสุดที่ 3,050 – 3,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะไหลออกสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 7-10 ตุลาคม 2564 ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูงคาดว่าจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 30-50 เซนติเมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี จึงเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว โดยแจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัทห้างร้านที่ประกอบกิจการริมแม่น้ำ
เจ้าพระยา อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก ทราบถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบัน และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้ ขอให้อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก กำชับผู้อำนวยการท้องถิ่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ติดตามสถานการณ์และตรวจสอบแนวคันกันน้ำให้มีความพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว ตลอดจนประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เตรียมความพร้อม กำลังพล วัสดุ อุปกรณ์เครื่องจักรและยานพาหนะ ให้พร้อมปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือประชาชน ตลอด 24 ชั่วโมงหากเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ให้รายงานสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทราบทันที ผ่านทางสายด่วน 1784
โทรสารในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี
ที่ ปท ๐๐๒๑/ว๑๖๗๓๗
จาก ผู้อำนวยการจังหวัดปทุมธานี
วันที่ ๕ตุลาคม ๒๕๖๔
ถึง ผู้อำนวยการอำเภอทุกอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี
ข้อความ
ด้วยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท(กปภก)
0๖๑๐/ว ๓๑๖ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ ได้รับแจ้งจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ มีประกาศแจ้งว่าได้
ประเมินสถานการณ์น้ำแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำปาสักพบว่า เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม๒๕๖๔ ปริมาณน้ำหลาก
จากตอนบนของกลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา ๒,๗๗๕ – ๒,๘๐๐ลูกบาศก์เมตร
ต่อวินาที และเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๔ ปริมาณน้ำหลากสูงสุดจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้ไหลผ่านเขื่อน
พระรามหกสูงสุดในอัตรา ๗อ๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่าในวันที่ ๕ ตุลาคม๒๕๖๔ ปริมาณน้ำหลาก
รวมกันผ่าน อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์สูงสุด ๓,๐๕๐ – ๓,๑๕ㆍลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
โดยจะไหลออกสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ ๗ – ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดสภาวะน้ำทะเล
หนุนสูง คาดว่าจะส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม ๓๐–๕๐เซนติเมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำนอก
แนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รายละเอียดตามหนังสือที่แนบท้ายนี้
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการเตรียม
ความพร้อมรับสถานการณ์ดังกล่าว ขอให้ท่านดำเนินการ ดังนี้
๑) ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัทห้างร้านที่ประกอบกิจการริมแม่น้ำ
เจ้าพระยา อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น ร่วมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่
ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก ทราบถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบัน และเฝ้าระวัง
ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
๒) ขอให้อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก กำชับผู้อำนวยการท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่
ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ติดตามสถานการณ์และตรวจสอบแนวคันกันน้ำให้มีความพร้อม รับสถานการณ์ดังกล่าว
พร้อมทั้งประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เตรียมความพร้อม กำลังพล วัสดุ อุปกรณ์
เครื่องจักร และยานพาหนะ ให้พร้อมปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือประชาชน ตลอด ๒๔ชั่วโมง
๓) หากเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ให้รายงานสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทราบทันที หมายเลขโทรศัพท์ · ๒๕๘๑ ๓๑๒๐ หรือสายด่วน ๑๓๕๔
๔) ให้แจ้งผู้อำนวยการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทราบ และถือปฏิบัติ
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ด่วนทีสด
( นายสุพจน์ รอฝเรือง ณ หนองคาย )
รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี
ผู้อำนวยการจังหวัด