บุกจวนผู้ว่าฯ ขับเคลื่อนการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ” ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566 กิจกรรม “ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง” และกิจกรรม “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 16.00 น. ที่ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นางพัทธานันท์ ยังตรงประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดอุบลราชธานี นางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายนคร ศิริปริญญานันท์ ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี นายพิสดารประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นายสำเนียง สิมมาวัน ท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี นางวิไลวรรณ หล้าแหล่ง หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี นางสาวสุนันธนา ภักดี ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอเมืองอุบลาาชธานี พัฒนาการอำเภอ ทั้ง 25 อำเภอ ตลอดจนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัด ร่วมจัดกิจกรรม การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ” ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566 กิจกรรม “ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง” และกิจกรรม “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในระดับครัวเรือน พร้อมทั้งน้อมนําแนวพระราชดําริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการดําเนินงาน 6 กระบวนงาน ได้แก่ 1) ผู้นําต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง 2) ผู้นําต้องทำก่อน 3) นักพัฒนา 3 ประสาน กลไกการขับเคลื่อน 4) ทุกครัวเรือนคือคลังอาหาร ทุกหมู่บ้านคือศูนย์แบ่งปัน 5) ทักษะชีวิตวิถีใหม่เยาวชนไทยสร้างอาหารเป็น 6) ถอดรหัสการพัฒนา : ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองในการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นมา ด้วยการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือนทั่วประเทศ เน้นการพึ่งตนเองและความสามัคคีของคนในชุมชน พร้อมทั้งต่อยอดและขยายผลอย่างต่อเนื่องให้เห็นผลเป็นรูปธรรม และในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการเพิ่มเติมเป้าหมายการดำเนินการของครัวเรือนปลูกผักสวนครัวอย่างน้อย 10 ชนิด ให้เต็มพื้นที่ครบทุกครัวเรือน ตามข้อมูลมาตรฐาน THAI QM ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งมีการรณรงค์ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรม “ทางนี้มีผลผู้คนรักกัน” “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเองและกระบวนงาน “ทุกครัวเรือนคือคลังอาหารทุกหมู่บ้านคือศูนย์แบ่งปัน” กระบวนงาน“ทักษะชีวิตใหม่เยาวชนไทยสร้างอาหารเป็น” ให้เต็มพื้นที่ 25 อำเภอ
โดยจังหวัดอุบลราชธานี มีครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามระบบ Plant for good report ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 น.
– จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักทั้งสิ้น 390,436 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 102.67 (เทียบเกณฑ์ จปฐ. ปี2565)
– จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักทั้งสิ้น 390,436 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100.02 (เทียบข้อมูล THAI QM)
– ผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง จำนวน 271 คน ผู้นำต้องทำก่อน จำนวน 9,950 คน นักพัฒนา 3 ประสาน จำนวน 13,571 คน ครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์และทำประมงจำนวน 132,701 ครัวเรือน
– ทางนี้มีผลผู้คนรักกันจำนวน 4,736 แห่ง จำนวนครัวเรือน 91,509 ครัวเรือน
– การคัดแยกขยะ 346,754 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 91.18
– ศูนย์แบ่งปันเมล็ดพันธ์และต้นกล้า 2,936 แห่ง มีเล็ดพันธ์ 29,351 ชนิด
– จำนวนครัวเรือนที่ลดรายจ่าย 271,811 ครัวเรือน เฉลี่ยวันละ 2,093 บาท/วัน
– จำนวนครัวเรือนที่เพิ่มรายได้ 366,848 ครัวเรือน เฉลี่ย 2,713 บาท/วัน
วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกกรมครั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดและขยายผลการดําเนินงานโครงการปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับ หมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีความยั่งยืน และเพื่อสร้างกระแสการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่อง เป็นตัวอย่างแก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี
โดยกิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วย
– การปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน
– การมอบต้นกล้า/เมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว จากศูนย์แบ่งปันเมล็ด พันธุ์และต้นกล้าหรือธนาคารเมล็ดพันธุ์ผักในแต่ละอําเภอ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นางสาววรางคณา อินทรเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางสาววิจิตร หลงชิน ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนนายธงชัย ครุฑแสน ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชนนายคำพอง วรรณวัติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชนพัฒนาการอำเภอทั้ง 25 อำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนและเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี เข้าร่วมกิจกรรมฯ ซึ่งประกอบด้วย การทำถังขยะเปียกรักษ์โลก การปลูกผัก และไม้ผล นอกจากนั้นยังได้ดำเนินการมอบเมล็ดพันธุ์ผัก และร่วมกันปลูกผักสวนครัว อาทิ เช่น พริก โหระพา แมงลัก คื่นช่าย คะน้ายอดกะเพรา ผักชีฝรั่ง หอม เป็นต้น
นอกจากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดอุบลราชธานี ยังได้มอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว น้ำหมักชีวภาพ ให้แก่ปลัดจังหวัด และพัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงต้นกล้าผักสวนครัวที่สำนักงานพัฒนานาชุมชนทั้ง 25 อำเภอ เพื่อดำเนินการปลูกขยายพันธุ์และขยายผลเป็นเมล็ดพันธุ์ขยายผลสะสมสำรองแจกจ่ายให้ประชาชนนำไปปลูกเป็นแหล่งอาหาร ลดรายจ่ายในครัวเรือนต่อไป
โอกาสนี้ นายชลธี ยังตรง ได้เปิดเผยว่า “ในวันนี้ ถิอเป็นโอกาสดี ที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนความต่อเนื่องในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร อย่างยั่งยืน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับ กลุ่มอาชีพ เกิดกระแสการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่องในอีกหลากหลายพื้นที่ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงต่อไป“