
สุราษฎร์ธานีขับเคลื่อนโครงการพัฒนาจังหวัดต้นแบบ “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี”
เสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยอย่างสมดุล
วันที่ 10 มิ.ย.2565 นายนันธวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับมอบหมายจากนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานพัฒนาจังหวัดต้นแบบ “ครอบครัวมั่นคง สุงคมสุขภาพดี” โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดขึ้น ณ ห้องประชุมโรงแรมนิภาการ์เด้นส์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายหลังจากกระทรวงสาธารณสุข อนุมัติงบประมาณปี2565 ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาศักยภาพสุขภาวะที่ดีทุกกลุ่มวัย ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายใต้โครงการพัฒนาจังหวัดตันแบบ “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี“ วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ครอบคลุมตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของคนไทยตลอดชีวิตทุกช่วงวัยอย่างสมดุล รวมถึงการพัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพสู่สุขภาวะที่ดีกับเครือข่ายในพื้นที่ เป็นกลไกในการจัดการปัญหาของครอบครัวในมิติสุขภาพ มิติเศรษฐกิจ และมิติสังคมเป็นสำคัญ
ด้านนางอรณัส ยวงทอง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560 – 2579) มีเป้าหมายหลักในการพัฒนาระบบสุขภาพให้สอดรับกับนโยบายระดับชาติ อีกทั้งเป็นกลไกในการปฏิรูปประเทศและปฏิรูประบบสุขภาพ ก้าวสู่ความเป็นประเทศไทยยุค 4.0 กำหนดเป้าหมาย “ประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน“ โดยยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติ และทุกช่วงวัย ให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยในปีงบประมาณ 2564 กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับเครือข่ายขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกกลุ่มวัย แก้ไขปัญหาความยากจน โดยเฉพาะการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มเปราะบางในทุกมิติอย่างยั่งยืน โดยการร่วมลงนามกับ 12 กระทรวงที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง นำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้โครงการพัฒนาจังหวัดตันแบบ“ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” เป็นปีแรก มุ่งที่จะศึกษาหารูปแบบและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ที่สามารถส่งมอบไปยังผู้รับบริการในกลุ่มเปราะบาง ที่สอดคล้องกับค่าเป้าหมายการพัฒนาย่างยั่งยืน โดยพัฒนาเครื่องมือในการค้นหาเป้าหมาย วิเคราะห์ปัญหาครอบคลุม 3 มิติ ได้แก่ มิติสุขภาพ มิติเศรษฐกิจ และมิติสังคม ในรายบุคคลและรายครอบครัวนำร่องใน 4 จังหวัดต้นแบบ คือ จังหวัดพะเยา บุรีรัมย์ ระยอง และจังหวัดตรัง และในปีงบประมาณ 2565 ได้ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเขตสุขภาพละ 1 จังหวัด โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้รับเลือกเป็นพื้นที่ขยายผลโครงการระยะที่ 2 ด้วย
ทั้งนี้ในส่วนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประสานความร่วมมือกับส่วนราชการในพื้นที่และครือข่ายสุขภาพที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง ร่วมกันคำเนินการจัดทำโครงการ ปี 2565 โดยกำหนดเป้าหมายดำเนินการแก้ไขปัญหาและศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มเปราะบางใน 2 พื้นที่ ประกอบด้วย ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ และตำบลสินปุนอำเภอพระแสง แห่งละ 10 ครัวเรือน เพื่อพัฒนาศักยภาพสุขภาวะที่ดีทุกกลุ่มวัย ภายใต้สภาพปัญหาของพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพสุขภาวะที่ดีในพื้นที่แบบพหุภาคี และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ความรู้ ของบุคลากรและเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ในการคันหา วิเคราะห์ปัญหา ท่ามกลางวิกฤติสุขภาวะ จัดทำแผนหรือแนวทางการแก้ไขที่ตรงปัญหา เกิดประโยชน์สูงสุดส่งผลหยั่งรากความเข้มแข็งไปสู่ระดับบุคคลและครอบครัว รวมทั้งเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพสุขภาวะกลุ่มวัยในพื้นที่เป้าหมายอีกด้วย